Powered By Blogger

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

โรคที่สำคัญในโครีดนม


โรค คือ การเปลี่ยนแปลงของร่างกายสัตว์ไปจากปกติ เป็นผลให้เกิดอันตรายต่อตัวสัตว์ การเปลี่ยนแปลงนี้หมายถึงการเปลี่ยนแปลงทา งอวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะด้วย เช่น พยาธิใบไม้ในตับทำให้เนื้อตับและท่อน้ำดีอักเสบ เป็นต้น





            สาเหตุโน้มนำที่ทำให้เกิดโรคในโคนม ได้แก่
1. สภาพการเลี้ยงดู เช่น อาหารไม่เหมาะสม อยู่อย่างแออัด คอกสกปรก ฯลฯ
2. สิ่งแวดล้อม เช่น อากาศร้อนจัด พื้นที่ลุ่มแฉะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค
3. อายุ เพศและพันธุ์ของสัตว์ โรคบางโรคเป็นกรรมพันธุ์และบางโรคเกิดกับลูกโคได้ง่ายกว่าแม่โค นอกจากนี้อาจเป็นลักษณะเ ฉพาะตัวของโคเอง
4. ความสามารถในการให้ผลผลิต เช่น โคที่ให้น้ำนมสูงย่อมสูญเสียแร่ธาตุอาหารไปกับน้ำนมมาก ทำให้อ่อนแอ เป็นต้น
สาเหตุที่แท้จริงของโรค ได้แก่
1. การได้รับสารอาหารบางอย่างมากหรือน้อยเกินไป เช่น ลูกโคได้รับฟอสฟอรัสและแคลเซียมไม่พอเพียง ทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อน เป ็นต้น
2. เกิดจากการติดเชื้อ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว เชื้อราหรือพยาธิ
3. อิทธิพลทางกายภาพ เช่น แสงแดด ความร้อน กระแสไฟฟ้า ฯลฯ

โรคบรูเซลโลซีส
เป็นโรคติดต่อที่ทำความเสียหายต่ออุตสาหกรรมโคนมอย่างยิ่งโรคหนึ่ง ทำให้แม่โคแท้งเมื่อตั้งท้องได้ 7-9 เดือน หรือลูกโคอ่อนแอตายตั้งแต่แรกคลอด อีกทั้งยังสามารถติดต่อถึงคนได้ทางน้ำนม โดยการดื่มนมที่มีเชื้อโรคนี้และทางบาดแผล คนนั้นจะแสดงอาการมีไข้ขึ้น ๆ ลง ๆ
ชื้อที่เข้าสู่ร่างกายโคจะเข้าสู่กระแสเลือด ไปยังอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะที่เต้านม อวัยวะสืบพันธุ์ต่อมน้ำเหลืองและม้าม ยากแก่การรักษา น้ำเมือกจากช่องคลอดของโคป่วยสามารถแพร่กระจายโรคได้ดี ความผิดปกติที่อาจสังเกตพบ ได้แก่ อัตราการแท้งสูงขึ้น ข้อขาบวม ส่วนในโคผู้ อัณฑะจะบวมหรือเป็นหมัน
การป้องกันโรคนี้ คือ ตรวจโรคโคใหม่ก่อนนำเข้าฝูง และเจาะเลือดตรวจทางห้องปฏิบัติการทุกปี คัดโคที่ให้ผลบวกต่อโรคนี้ออกจากฝูงทันที อีกวิธีคือ ฉีดวัคซีนป้องกันให้แก่ลูกโคเพศเมีย เมื่ออายุ 3-8 เดือน ซึ่งจะคุ้มกันได้ประมาณ 7 ปี ห้ามใช้วัคซีนนี้กับลูกโคผู้ เพราะเป็นหมัน และห้ามใช้กับโคอายุเกิน 8 เดือน เพราะจะทำให้ผลการตรวจโรคประจำปีสับสน ฝูงที่มีปัญหาโรคนี้ ควรทำการตรวจโรคปีละ 2 ครั้ง และคัดตัวป่วยออกเชื้อโรคนี้จะอยู่ในกระแสเลือดบางช่วงเวลาเท่านั้น จึงอาจทำให้ผลการตรวจในแต่ละครั้งแตกต่างกันได้

โรคเต้านมอักเสบ
เกิดจากเชื้อโรคเข้าไปเจริญเติบโตและทำลายเนื้อเยื่อของเต้านม หรือเกิดจากอุบัติเหตุและความบกพร่องในการจัดการ อาการของโรคเต้านมอักเสบที่มักพบเห็น ได้แก่
1. น้ำนมมีสีเข้มขึ้น และมีตะกอนปะปน
2. ปริมาณน้ำนมลดลงเฉพาะเต้า หรือหลายเต้า
3. เต้านมบวม ร้อน แดง แข็ง และเจ็บปวด
4. ในรายที่เป็นรุนแรง โคจะซึม หยุดกินอาหารและมีไข้
การป้องกันและรักษาโรคเต้านมอักเสบ ทำได้โดย
1. รักษาความสะอาดของคอก อุปกรณ์ และทุกขั้นตอนของการรีด
2. ใช้น้ำสะอาดหรือน้ำผสมน้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดเต้านมให้สะอาด แล้วเช็ดด้วยผ้าสะอาดก่อนรีดทุกครั้ง
3. อย่าใช้เวลารีดนมนานเกินไป รีดนมให้หมดเต้า แล้วจุ่มหัวนมหรือเช็ดซ้ำด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทันทีที่รีดเสร็จ
4. อย่าเปลี่ยนคนรีดโดยไม่จำเป็น และรีดให้ตรงเวลา
5. ตรวจเช็คน้ำนมทุกเต้าก่อนรีดลงถังโดยรีดใส่ภาชนะสีเข้ม และถ้าพบความผิดปกติ ให้รีดไปทิ้งห่างไกลจากคอก แล้วล้างมือให้สะอาด
6. รีดโคเต้านมอักเสบเป็นตัวสุดท้าย และรีดเต้าที่อักเสบเป็นเต้าสุดท้ายด้วย
7. รักษาทันทีที่พบว่าโคเต้านมอักเสบ แล้วรีบแจ้งหรือขอคำแนะนำจากสัตวแพทย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่เป็นรุนแรง (ดูรายละเอียดจากเรื่องยาสอดเต้านม)
8. ควรสอดยาป้องกันเต้านมอักเสบให้แก่โคที่เคยเป็นโรคนี้เมื่อหยุดรีดนม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น