การเลี้ยงโคนมในประเทศไทย
ระเบียบมาตราฐานฟาร์มโคนมและการผลิตน้ำนมดิบของประเทศไทย พ.ศ. 2542 ประกาศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง มาตราฐานฟาร์มโคนมและการผลิตน้ำนมดิบ ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 ได้กำหนดมาตราฐาน เพื่อประโยชน์ต่อการปรับปรุงคุณภาพ อำนวยความสะดวกด้านการค้าและการปรับปรุงคุณภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้เจ้าของฟาร์มโคนมและสัตวแพทย์ที่ควบคุมกำกับดูแลสุขภาพสัตว์ และดูแลสุขอนามัยภายในฟาร์มโคนม ได้ปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน เพื่อให้ได้ฟาร์มโคนมและน้ำนมได้มาตราฐาน ซึ่งจะมีผลต่อราคาน้ำนมดิบและผู้บริโภค ตามวัตถุประสงค์ของประกาศกระทรวง
“แม่โค” หมายถึง โคที่เคยคลอดลูกแล้ว
“ฟาร์มขนาดเล็ก” หมายถึง ฟาร์มที่มีจำนวนแม่โคไม่เกิน 20 ตัว
“ฟาร์มขนาดกลาง” หมายถึง ฟาร์มที่มีจำนวนแม่โคอยู่ระหว่าง 21 – 100 ตัว
“ฟาร์มขนาดใหญ่” หมายถึง ฟาร์มที่มีจำนวนแม่โคเกินกว่า 100 ตัว
“แม่โค” หมายถึง โคที่เคยคลอดลูกแล้ว
“ฟาร์มขนาดเล็ก” หมายถึง ฟาร์มที่มีจำนวนแม่โคไม่เกิน 20 ตัว
“ฟาร์มขนาดกลาง” หมายถึง ฟาร์มที่มีจำนวนแม่โคอยู่ระหว่าง 21 – 100 ตัว
“ฟาร์มขนาดใหญ่” หมายถึง ฟาร์มที่มีจำนวนแม่โคเกินกว่า 100 ตัว
ระบบการเลี้ยงโคนมในประเทศไทย
1. การปล่อยให้กินหญ้าในแปลง (Grazing) สำหรับพื้นที่จำกัดจะใช้รั้วไฟฟ้า หรือรั้วลวดหนาม แบ่งแปลงหญ้าเป็นล็อคๆ ให้โคกิน และทุ่งหญ้าส่วนใหญ่จะเป็นแบบทุ่งหญ้าถาวร (Pasture crops)
1. การปล่อยให้กินหญ้าในแปลง (Grazing) สำหรับพื้นที่จำกัดจะใช้รั้วไฟฟ้า หรือรั้วลวดหนาม แบ่งแปลงหญ้าเป็นล็อคๆ ให้โคกิน และทุ่งหญ้าส่วนใหญ่จะเป็นแบบทุ่งหญ้าถาวร (Pasture crops)
2. แบบปล่อยยืนโรง (Loose housing) ปล่อยโคเป็นอิสระ มีการนำอาหารมาให้ เช่น หญ้าหมัก, หญ้าสด โดยโคสามารถพักผ่อน นอน กินอาหาร และรีดนม อยู่ในโรงเรือนเดียวกัน
3. แบบผสม รูปแบบนี้จะขึ้นอยู่กับกิจกรรมการผลิตอาหารสัตว์ในแต่ละปีทั้งแปลงหญ้าให้โคลงแทะเล็ม และตัดสดให้โคกิน (cut and curry)
การเลี้ยงโคนมให้เจริญก้าวหน้าไปกว่าปัจจุบันจะต้องขจัดปัญหาต่างๆ ที่พบในการเลี้ยงโคนมโดยแบ่งได้ดังนี้ การลงทุนเริ่มต้น อาจสูง เช่น ค่าตัวโค ค่าสร้างโรงเรือน ค่าอุปกรณ์ที่จำเป็นความรู้ด้านการเลี้ยงโคนม เพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการผลิต การเลี้ยงสัตว์ที่จะได้ผลผลิตนมออกมา นอกจากนี้ยังต้องอาศัยประสบการณ์ในการเลี้ยงจึงจะประสบความสำเร็จ งานที่ไม่มีวันหยุด ไม่สามารถหยุดทำงานเนื่องจากมีการผลิตน้ำนมทุกวันประสิทธิภาพการผลิตต่ำ เป็นผลมาจากเรื่องการคัดเลือกพันธุ์โคนม สุขภาพโค การเลี้ยงดูแลและการให้อาหาร ชึ่งจะส่งผลให้ผลผลิตนมต่ำ ต้นทุนการผลิตสูง โดยเฉพาะค่าอาหารมีราคาสูงขึ้น ได้ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตน้ำนมสูงขึ้น
ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 แสดงต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบเฉลี่ยทุกขนาดฟาร์ม ราคาที่ขายได้และผลตอบแทน(บาท / กก.)
หมายเหตุ : ราคาน้ำนมดิบรับซื้อที่ศูนย์รับซื้อน้ำนม (กลุ่มงานเศรษฐกิจปศุสัตว์ 2539)
(ก) ราคารับซื้อในช่วงต้นปี (ข) ราคารับซื้อในช่วงปลายปี
(ก) ราคารับซื้อในช่วงต้นปี (ข) ราคารับซื้อในช่วงปลายปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น