Powered By Blogger

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

นมสดพาสเจอร์ไรส์





เป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพที่นำมาจากนมสดแท้ คุณภาพสูง ผ่านกรรมวิธี พาสเจอร์ไรส์และ โฮโมจีไนส์ทำให้จุลินทรีย์ที่เป็นโทษต่อมนุษย์ตาย หมดแต่ยังคงเหลือแต่จุลินทรีย์ที่เป็น ประโยชน์อยู่ วิธีการนี้เป็นการ ฆ่าเชื้อที่จะยังรักษา ความสด กลิ่น รส และคุณภาพใกล้เคียงนมสดแท้ๆ วิธีเก็บรักษานมสดพาสเจอร์ไรส์ จะต้องเก็บไว้ในที่เป็น อุณหภูมิ สม่ำเสมอ 4 องศาเซลเซียส อายุการเก็บ 7 วัน นับตั้งแต่วันผลิต อายุการเก็บจะสั้นลงหากอุณหภูมิการ เก็บสูงกว่าที่กำหนด และเมื่อ เปิดขวดแล้วควรดื่มให้หมด ภายใน 1 วัน
นมสดพาสเจอร์ไรส์มีอยู่ 2 ชนิด
     1.  นมสดธรรมชาติ เป็นนมโคสดแท้ๆ ที่ไม่มีการแยกไขมันเนยออก                                                      
    2.  นมสดพร่องมันเนย เป็นนมโคสดแท้ที่มีการแยกไขมันออกไปให้เหลือเพียง 1.5 % ส่วนธาตุน้ำนมอื่น ยังคงอยู่ครบถ้วน

ไอศกรีมนมสด





ไอศกรีมนมสด อืมม!..มิลค์ เป็นพรีเมี่ยมไอศกรีมที่ผลิตจากนมโคสดแท้ คุณภาพเยี่ยมจาก ฟาร์มโชคชัย ผสมกับส่วนผสมที่คัดสรรมาเป็นอย่างดี ผ่านขบวนการพาสเจอร์ไรส์ โฮโมจีไนส์ และขบวนการผลิตไอศกรีมที่มีอากาศเข้าไปเจือในการผลิตน้อยที่สุด ไอศกรีมนมสด อืมม!..มิลค์ จึงมีส่วนผสมของครีมสด นมสด ในปริมาณที่มากกว่าทำให้มี คุณสมบัติพิเศษของเนื้อไอศกรีม คือ เนื้อเนียน เหนียวนุ่ม หวานมัน และที่สำคัญรสชาติเข้มข้น เหนือกว่าไอศกรีมโดยทั่วไป นอกเหนือจากไอศกรีมนมสด แล้ว อืมม!..มิลค์ ยังสร้างสรรค์ ไอศกรีมนมสดผสมรสชาติ ต่างๆ ให้เลือกลิ้มลอง เช่น Rich Chocolate, Copico Almond, Rum raisin, Ultimate Vanilla, Green Tea, Cookie & Cream, Strawberry and Orange Sherbet
วิธีการปฏิบัติและเก็บรักษาไอศกรีมที่ดี
                  ควรเก็บรักษาในตู้แช่แข็งที่อุณหภูมิ – 20 องศาเซลเซียส และควรเก็บในภาชนะที่ปิดสนิท ไม่ให้กลิ่นอาหารอื่นไปปนเปื้อนได้ หากไอศกรีมละลายแล้ว ไม่ควรนำมาแช่แข็งใหม่เพื่อบริโภค เพราะคุณสมบัติของไอศกรีมได้เปลี่ยนแปลงไปขณะละลายแล้วไม่สามารถคืนสภาพเดิมได้

โยเกิร์ตนมสด





อืมม!..มิลค์ โยเกิร์ต ทำมาจากนมสดที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยขบวนการพาสเจอร์ไรส์ โฮโมจีไนส์ ซึ่งในโยเกิร์ตมี การเติมเชื้อจุลินทรีย์แลคโตบาซิลลัส ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยในการ ย่อยอาหารและระบบขับถ่ายของร่างกายให้เป็นปกติ  ซึ่ง อืมม!..มิลค์ โยเกิร์ต มีความแตก ต่างจากโยเกิร์ตทั่วไปในท้องตลาด คือ มีลักษณะค่อนข้างแข็งอยู่ตัวคล้ายคัสตาร์ด หรือ Set Yoghurt
           การเก็บรักษาโยเกิร์ต
          เก็บที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส สามารถเก็บไว้ได้นาน 15 – 21 วัน อายุของผลิตภัณฑ์จะสั้นลง หากเก็บที่อุณหภูมิที่สูงกว่าหรือไม่สม่ำเสมอ

ทอฟฟี่นมสด





อีกผลิตภัณฑ์หนึ่งของ อืมม!..มิลค์ ที่เราภูมิใจ คือ ทอฟฟี่นมสดที่ไม่ว่าใครได้ลิ้มลอง รสชาติเข้มข้มของเนื้อทอฟฟี่นมสดที่ผ่านการแปรรูปน้ำนมธรรมชาติจากโรงงานผลิตของอืมม!มิลค์ ซึ่งแต่ละเม็ดอัดแน่นด้วยวัตถุดิบที่มีคุณภาพผสานกรรมวิธีการผลิตที่พิถีพิถันจนได้เป็นทอฟฟี่นมที่เข้มข้น เหนียว นุ่มละมุนลิ้น ให้รสชาติของนมสดแท้ๆ ซึ่งยังคงรักษา คุณค่าทางอาหารของนมไว้ได้อย่างครบถ้วน ตามแบบฉบับของฟาร์มโชคชัยที่เมื่อใครก็ตามที่ได้ลิ้มลองความอร่อยก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า อืมม!มิลค์ จริงๆ  ถือเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ อืมม!...มิลค์ภูมิใจ มอบให้เป็นของกำนัลชั้นเยี่ยมแด่ทุกท่าน สามารถแวะลิ้มลองความอร่อยได้แล้ววันนี้ที่ร้านอืมม!...มิลค์ แดรี่ชอปทุกสาขา

นมสดอัดเม็ด





นมอัดเม็ดอืมม!..มิลค์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้นมผงขาดมันเนยในการผลิต ผสมผสานกับน้ำตาลเพียงเล็กน้อย ทำให้ได้มาซึ่งนมอัดเม็ดรสชาติกลมกล่อม เหมาะสำหรับทานเล่นระหว่างวัน และมั่นใจได้ว่านมอัดเม็ดของเราทุกเม็ดนั้น อัดแน่นไปด้วยคุณประโยชน์ต่อร่างกาย  นมอัดเม็ดอืมม!..มิลค์ นั้นมีรสชาติยอดนิยม 2 รสชาติด้วยกัน คือ รสหวานและรสมอลล์

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

การแปรรูปจากนม

http://www.dld.go.th/pvlo_pic/pic40_5.html

ผลิตภัณฑ์





ฟาร์มโชคชัย

ฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ก

ประวัติ
ฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค หรือองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ตั้งอยู่ที่ถนนมิตรภาพ ตำบลมิตรภาพ ฝั่งตรงข้ามกับตลาด อ.ส.ค.  สถานที่แห่งนี้ยังถือเป็นประวัติศาสตร์จุดเริ่มต้นการเลี้ยงโคนมของประเทศไทย
              เมื่อปี พ.ศ. 2503 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถได้เสด็จประพาสประเทศเดนมาร์ค ทรงให้ความสนพระทัยเกี่ยวกับกิจการเลี้ยงโคนมของชาวเดนมาร์คเป็นอย่างมาก ต่อมารัฐบาลเดนมาร์คและสมาคมเกษตรกรโคนมเดนมาร์คได้ร่วมใจกันน้อมเเกล้าถวายโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนม โดยร่วมมือกับรัฐบาลไทยจัดตั้งฟาร์มโคนมและศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงโคนมไทยเดนมาร์คขึ้นที่อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและพระเจ้าเฟรดเดอริค พระมหากษัตริย์องค์ที่ 9 ของประเทศเดนมาร์คได้เสด็จเปิดฟาร์มโคนม เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2505 ต่อมาได้โอนกิจการทั้งหมดให้รัฐบาลไทยและให้จัดเป็น "องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย" (อ.ส.ค.) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคนมและรับซื้อนมดิบจากเกษตรกรมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์นม
             อ.ส.ค. เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมฟาร์มโคนมไทยเดนมาร์คเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และจุดเรียนรู้ด้านโคนมอย่างครบวงจรสำหรับประชาชนที่สนใจทั่วไป  กิจกรรมที่นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสในการเยี่ยมชมฟาร์มแห่งนี้ ได้แก่ การนั่งรถพ่วงชมทุ่งหญ้ากับฝูงโคนม การปั่นจักรยานเสือภูเขาในสนาม ATV ชมวีดีทัศน์ประวัติ อ.ส.ค. ชมการสาธิตรีดนม ทดลองรีดนม ชมพิพิธภัณฑ์สองกษัตริย์ไทย-เดนมาร์ค ป้อนนมให้ลูกโค บรรยายการเลี้ยงโคครบวงจร การทำอาหารหมักสำหรับโค การแสดงวิถีชีวิตคาวบอย เช่น การบ่วงบาศโค การบังคับโค ชมแปลงสาธิตหญ้าอาหารโคกว่า 35 ชนิด กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์นมไทย-เดนมาร์คในทุกขั้นตอน ชมสวนเกษตร สวนสมุนไพร

ฟาร์มโคนม

พาเที่ยวฟาร์มโชคชัย

ฟาร์มโคนม-ไทยเดนมาร์ค





โรคที่สำคัญในโครีดนม


โรค คือ การเปลี่ยนแปลงของร่างกายสัตว์ไปจากปกติ เป็นผลให้เกิดอันตรายต่อตัวสัตว์ การเปลี่ยนแปลงนี้หมายถึงการเปลี่ยนแปลงทา งอวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะด้วย เช่น พยาธิใบไม้ในตับทำให้เนื้อตับและท่อน้ำดีอักเสบ เป็นต้น





            สาเหตุโน้มนำที่ทำให้เกิดโรคในโคนม ได้แก่
1. สภาพการเลี้ยงดู เช่น อาหารไม่เหมาะสม อยู่อย่างแออัด คอกสกปรก ฯลฯ
2. สิ่งแวดล้อม เช่น อากาศร้อนจัด พื้นที่ลุ่มแฉะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค
3. อายุ เพศและพันธุ์ของสัตว์ โรคบางโรคเป็นกรรมพันธุ์และบางโรคเกิดกับลูกโคได้ง่ายกว่าแม่โค นอกจากนี้อาจเป็นลักษณะเ ฉพาะตัวของโคเอง
4. ความสามารถในการให้ผลผลิต เช่น โคที่ให้น้ำนมสูงย่อมสูญเสียแร่ธาตุอาหารไปกับน้ำนมมาก ทำให้อ่อนแอ เป็นต้น
สาเหตุที่แท้จริงของโรค ได้แก่
1. การได้รับสารอาหารบางอย่างมากหรือน้อยเกินไป เช่น ลูกโคได้รับฟอสฟอรัสและแคลเซียมไม่พอเพียง ทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อน เป ็นต้น
2. เกิดจากการติดเชื้อ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว เชื้อราหรือพยาธิ
3. อิทธิพลทางกายภาพ เช่น แสงแดด ความร้อน กระแสไฟฟ้า ฯลฯ

โรคบรูเซลโลซีส
เป็นโรคติดต่อที่ทำความเสียหายต่ออุตสาหกรรมโคนมอย่างยิ่งโรคหนึ่ง ทำให้แม่โคแท้งเมื่อตั้งท้องได้ 7-9 เดือน หรือลูกโคอ่อนแอตายตั้งแต่แรกคลอด อีกทั้งยังสามารถติดต่อถึงคนได้ทางน้ำนม โดยการดื่มนมที่มีเชื้อโรคนี้และทางบาดแผล คนนั้นจะแสดงอาการมีไข้ขึ้น ๆ ลง ๆ
ชื้อที่เข้าสู่ร่างกายโคจะเข้าสู่กระแสเลือด ไปยังอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะที่เต้านม อวัยวะสืบพันธุ์ต่อมน้ำเหลืองและม้าม ยากแก่การรักษา น้ำเมือกจากช่องคลอดของโคป่วยสามารถแพร่กระจายโรคได้ดี ความผิดปกติที่อาจสังเกตพบ ได้แก่ อัตราการแท้งสูงขึ้น ข้อขาบวม ส่วนในโคผู้ อัณฑะจะบวมหรือเป็นหมัน
การป้องกันโรคนี้ คือ ตรวจโรคโคใหม่ก่อนนำเข้าฝูง และเจาะเลือดตรวจทางห้องปฏิบัติการทุกปี คัดโคที่ให้ผลบวกต่อโรคนี้ออกจากฝูงทันที อีกวิธีคือ ฉีดวัคซีนป้องกันให้แก่ลูกโคเพศเมีย เมื่ออายุ 3-8 เดือน ซึ่งจะคุ้มกันได้ประมาณ 7 ปี ห้ามใช้วัคซีนนี้กับลูกโคผู้ เพราะเป็นหมัน และห้ามใช้กับโคอายุเกิน 8 เดือน เพราะจะทำให้ผลการตรวจโรคประจำปีสับสน ฝูงที่มีปัญหาโรคนี้ ควรทำการตรวจโรคปีละ 2 ครั้ง และคัดตัวป่วยออกเชื้อโรคนี้จะอยู่ในกระแสเลือดบางช่วงเวลาเท่านั้น จึงอาจทำให้ผลการตรวจในแต่ละครั้งแตกต่างกันได้

โรคเต้านมอักเสบ
เกิดจากเชื้อโรคเข้าไปเจริญเติบโตและทำลายเนื้อเยื่อของเต้านม หรือเกิดจากอุบัติเหตุและความบกพร่องในการจัดการ อาการของโรคเต้านมอักเสบที่มักพบเห็น ได้แก่
1. น้ำนมมีสีเข้มขึ้น และมีตะกอนปะปน
2. ปริมาณน้ำนมลดลงเฉพาะเต้า หรือหลายเต้า
3. เต้านมบวม ร้อน แดง แข็ง และเจ็บปวด
4. ในรายที่เป็นรุนแรง โคจะซึม หยุดกินอาหารและมีไข้
การป้องกันและรักษาโรคเต้านมอักเสบ ทำได้โดย
1. รักษาความสะอาดของคอก อุปกรณ์ และทุกขั้นตอนของการรีด
2. ใช้น้ำสะอาดหรือน้ำผสมน้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดเต้านมให้สะอาด แล้วเช็ดด้วยผ้าสะอาดก่อนรีดทุกครั้ง
3. อย่าใช้เวลารีดนมนานเกินไป รีดนมให้หมดเต้า แล้วจุ่มหัวนมหรือเช็ดซ้ำด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทันทีที่รีดเสร็จ
4. อย่าเปลี่ยนคนรีดโดยไม่จำเป็น และรีดให้ตรงเวลา
5. ตรวจเช็คน้ำนมทุกเต้าก่อนรีดลงถังโดยรีดใส่ภาชนะสีเข้ม และถ้าพบความผิดปกติ ให้รีดไปทิ้งห่างไกลจากคอก แล้วล้างมือให้สะอาด
6. รีดโคเต้านมอักเสบเป็นตัวสุดท้าย และรีดเต้าที่อักเสบเป็นเต้าสุดท้ายด้วย
7. รักษาทันทีที่พบว่าโคเต้านมอักเสบ แล้วรีบแจ้งหรือขอคำแนะนำจากสัตวแพทย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่เป็นรุนแรง (ดูรายละเอียดจากเรื่องยาสอดเต้านม)
8. ควรสอดยาป้องกันเต้านมอักเสบให้แก่โคที่เคยเป็นโรคนี้เมื่อหยุดรีดนม


การรีดนม

การรีดนม
          หมายถึง   การกระทำอย่างใดอยางหนึ่งเพื่อที่จะเอานมออกจากเต้านมของแม่โค   น้ำนมส่วนมากจะถูกขับออกมาโดยการกระตุ้นทางระบบประสาทและฮอร์โมนพร้อม  กับการรีด  นั่นคือ  การทำให้ภายในหัวนมเกิดมีแรงอัดดันจนทำให้รูหูนมเปิดออก   น้ำนมซึ่งอยู่ภายในจึงไหลออกได้

การรีดนมมีอยู่ 2 วิธีคือ
          1.  การรีดนมด้วยมือ
          2.  การรีดนมด้วยเครื่อง

         หลักที่ควรคำนึงถึงและถือปฏิบัติในการรีดนม
          1.  ควรรีดให้สะอาด
          2.  ควรรีดให้เสร็จโดยเร็ว
          3.  ควรรีดให้น้ำนมหมดเต้า


น้ำนมที่รีดได้จะมีอุณภูมิประมาณ 36 c ควรทำให้เย็นลงโดยเร็ว เพื่อลดอัตราการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ที่อาจจะปนเปื้อนติดมา สำหรับเกษตรกรรายย่อยอาจจะยุ่งยากในการทำให้นมที่รีดได้เย็นลง ดังนั้นควรจะรีบส่งนมที่รีดได้ให้กับศูนย์รวมนมดิบโดยเร็ว ถ้าเป็นฟาร์มใหญ่ควรใช้เครื่องทำความเย็นทำนมที่รีดได้เย็นลงต่ำกว่า 10 c เพื่อเป็นการรักคุณภาพน้ำนม ทำให้เก็บน้ำนมได้นานขึ้นก่อนส่งถึงโรงงาน
ขั้นตอนในการรีดนมเพื่อให้ได้น้ำนมที่สะอาด
          1.  การเตรียมน้ำยาฆ่าเชื้อโดยใช้น้ำยาคลอรีนอย่างเจือจาง
          2.  การเตรียมอุปกรณ์การรีดซึ่งรวมถึงผู้ที่ทำการรีดและแม่โค   ให้เรียบร้อยการเตรียมการต่าง  ควรจัดการให้สะอาดหรือฆ่าเชื้อด้วยน้ำยาคลอรีน
          3.  ทำความสะอาดตัวโคและบริเวณคอกที่สกปรก
          4.  ล้างเต้านมด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำยาคลอรีนพร้อมกับนวดเช็ดเบา 
          5.  ก่อนลงมือรีดควรตรวจสอบความผิดปกติของน้ำนมหรือทำการรีดน้ำนมที่ค้างอยู่ในหัวนมทิ้งเสียก่อน
          6.  ขณะลงมือรีดนมควรรีบรีดให้เร็วที่สุดไม่หยุดพัก   กะให้เสร็จภายใน  5 - 8 นาที  และต้องรีดให้หมดทุกเต้า

การรีดนมด้วยมือ
กระทำได้โดยการ ใช้นิ้วหัวแม่มือ   นิ้วชี้บีบหรือรีดหัวนมตอนบน   เพื่อเป็นการปิดทางนมเป็นการกันไม่ให้น้ำนมในหัวนมหนีขึ้นไปอยู่ตอนบน   ต่อมาก็ใช้นิ้วที่เหลือ (กลางนางก้อย)  ทำการบีบไล่น้ำนมตั้งแต่ตอนบนเรื่อยลงมาข้างล่างจะทำให้ภายในหัวนมมีแรงอัดและน้ำนมจะถูกดันผ่านรูนมออกมาและเมื่อขณะที่ปล่อยช่องนิ้ว (หัวแม่มือนิ้วชี้)  ที่รีดนัวนมตอนบนออก   น้ำนมซึ่งมีอยู่ในถุงพับนมข้างบนจะไหลลงมาส่วนล่าง   เป็นการเติมให้แก่หัวนมอีกเป็นเช่นนี้ตลอดระยะเวลาที่รีดจนกระทั่งน้ำนมหมด

วิธีการหยุดรีดนมแม่โค
          ในการหยุดรีดนมแม่โค  โดยเฉพาะแม่โคที่เคยให้นมมาก  ควรจะต้องระมัดระวังในการหยุดรีด   เพราะอาจจะทำให้เกิดโรคเต้านมอักเสบได้โดยง่าย   วิธีการหยุดรีดควรทำแบบค่อยเป็นค่อยไป  กล่าวคือ  ในขั้นต้นอย่ารีดให้น้ำนมหมดเต้าเลยทีเดียว  ในช่วงแรก  ควรค่อย  ลดอาหารข้นลงบ้างตามส่วน   แล้วต่อไปจึงเริ่มลดจำนวนครั้งที่รีดนมในวันหนึ่ง  ลงมาเป็นวันละครั้ง   ต่อมาก็รีดเว้นวันและต่อมาก็เว้นช่วงให้นานขึ้น   จนกระทั่งหยุดรีดนม   ในที่สุดซึ่งปกติโดยทั่ว  ไปจะใช้เวลาประมาณ 15 - 30 วัน  และในขณะที่หยุดพักรีดนมนี้จะต้องหมั่นสังเกตเต้านมอยู่เสมอ   ถ้าปรากฏว่าบวมแดงหรืออักเสบ   ต้องรีบตามสัตวแพทย์มาช่วยรักษาและต้องหวนกลับมารีดนมตามเดิมไปก่อน   ถ้าไม่มีโรคแทรกแล้วเต้านมของแม่โคที่พักการให้นมใหม่  โดยทั่วไปก็จะคัดเต้าอยู่สักระยะหนึ่ง   แล้วจึงค่อย  ลีบเล็กลงไปในที่สุด

ปัญหาที่พบบ่อยในการรีดนม
          1.  ถ้ารู้ว่าโคตัวใดเป็นโรคเต้านมอักเสบให้ทำการรีดหลังโคตัวอื่น  เพื่อป้องกันการกระจายของโรค  และควรรีดเต้าที่อักเสบทีหลังสุด  และให้ระวังการเช็ดล้างเต้านม
          2.  ถ้าโคตัวใดเป็นแผลหรือเป็นฝีที่หัวนม  ขณะที่ทำการรีดนมแม่โคอาจแสดงอาการเจ็บปวด  อาจทำร้ายคนรีดได้ในกรณีเวลารีดควรแตะต้องแผลให้น้อยที่สุดและควรรีบจัดการรักษาใส่ยาหรือใช้ขี้ผึ้งทา   หลังรีดนมเสร็จแล้วควรล้างมือให้สะอาดด้วย
          3.  ถ้ามีโคตัวใดนมรั่ว  ซึ่งเกิดจากเต้านมคัดซึ่งเป็นเพราะกล้ามเนื้อวงแหวนที่รัดรูหัวนมไม่แข็งแรงพอหรือค่อนข้างเสื่อมสมรรถภาพ  กรณีที่ไม่มีแนวทางแก้ไขอาจใช้จุกปิดหรืออุดรูหัวนม  หรือใช้วิธีรีดนมให้ถี่ขึ้นก็ได้
          4.  ถ้าพบว่าแม่โคบางตัวให้น้ำนมที่มีสีผิดปกติเกิดขึ้น   กล่าวคือ   น้ำนมอาจเป็นสีแดงหรือมีสีเลือดปนออกมา  ซึ่งอาจเป็นเพราะเส้นเลือดฝอยในเต้านมแตกซึ่งไม่เป็นอันตรายใด  จะค่อย  หายไปเองในไม่ช้า   น้ำนมที่ได้ควรนำไปให้ลูกโคกินไม่ควรบริโภค
          5.  ถ้าพบว่าแม่โคตัวใดเตะเก่ง   ขณะทำการรีดจะต้องใช้เชือกมัดขา   ซึ่งควรค่อย  ทำการฝึกหัดให้เคยชิน  โดยไมต้องใช้เชือกมัด   เพราะวิธีการมัดขารีดนมไม่ใช่เป็นวิธีการที่ดีจะทำให้วัวเคย



การผสมเทียม

การผสมเทียม   หมายถึง   การรีดน้ำเชื้อจากสัตว์พ่อพันธุ์แล้วนำไปฉีดเข้าในอวัยวะของสัตว์ตัวเมีย   เมื่อสัตว์ตัวเมียนั้นแสดงอาการของการเป็นสัดแล้วทำให้เกิดการตั้งท้องแล้วทำให้คลอดออกมาตามปกติ

ประโยชน์ของการผสมเทียม
          1.  ทำให้ประหยัดพ่อพันธุ์เมื่อรีดเก็บน้ำเชื้อจากสัตว์พ่อพันธุ์ได้แต่ละครั้งสามารถนำมาละลายน้ำเชื้อแล้วแบ่งใช้ผสมกับสัตว์ตัวเมียได้จำ นวนมาก
          2.  สามารถผสมพันธุ์สัตว์ที่มีขนาดใหญ่หรือเล็กต่างกันได้ โดยไม่มีอันตรายจากการขึ้นทับของพ่อพันธุ์
          3.  ไม่ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงพ่อพันธุ์
          4.  ตัดปัญหาในเรื่องขนส่งโคไปผสมเพราะสามารถนำน้ำเชื้อไปผสมได้ไกลๆ


ระยะเวลาที่เหมาะสมในการผสมเทียม
       โคตัวเมีย
ที่แสดงอาการเป็นสัดดังกล่าว   ควรจะได้รับการผสมเทียมในระยะเวลาช่วงกลางของการเป็นสัด   หรือใกล้ระยะที่จะหมดการเป็นสัด (อาจจะหมดการเป็นสัดไปแล้วประมาณ  6  ชั่วโมงก็ได้   หรือเมื่อโคเพศเมียตัวนั้นยืนนิ่งให้ตัวอื่นขึ้นขี่   ซึ่งใช้เป็นหลักในการผสมพันธุ์)  โดยทั่ว ๆ ไปโคเพศเมียจะมีระยะเป็นสัดประมาณ  18 ช.ม.  แล้วต่อมาอีก  14  ช.ม.  จึงจะมีไข่ตกเพื่อรอรับการผสมพันธุ์กับน้ำเชื้อพ่อโค   จึงเห็นสมควรที่ต้องเลือกเวลาที่เหมาะสม   ในการดำเนินการเรื่องของรับบริการผสมเทียมดังมีหลักการที่จะใช้ในการปฏิบัติงานผสมเทียมคือ
          1.  เมื่อโคเพศเมียตัวใดแสดงอาการเป็นสัดในตอนรุ่งเช้าของวันใดวันหนึ่ง   ควรที่จะได้รับการผสมเทียมในวันเวลาเดียวกัน (ก่อน  16.30  น.)  ฉะนั้นพอรุ่งเช้าของแต่ละวันเจ้าของสัตว์ควรที่จะได้ไปแจ้งและบอกเวลา  (ประมาณ)  ที่ท่านได้เห็นสัตว์ของท่านแสดงอาการเป็นสัด
          2.  ถ้าโคเพศเมียตัวใดแสดงอาการเป็นสัดในตอนบ่ายของวันใดวันหนึ่ง   ควรที่จะได้รับการผสมเทียมตอนเช้าหรือก่อนเที่ยงของวันรุ่งขึ้น  ฉะนั้นเจ้าของสัตว์เมื่อพบว่าสัตว์แสดงอาการเป็นสัดในตอนบ่ายหรือตอนเย็น   ท่านควรจะไปแจ้งและบอกเวลาของการเป็นสัด  (ประมาณ)   ในรุ่งเช้าของวันต่อไปก็ได้

          ถ้าท่านได้ศึกษา
และรู้จักสังเกตการแสดงอาการเป็นสัด   ว่าอาการเป็นอย่างไรและหาระยะเวลาที่จะผสมเทียมให้พอเหมาะแล้ว   จะเป็นการช่วยแก้ปัญหาเรื่องการผสมเทียมติดยากหรือผสมไม่ค่อยติดในโคเพศเมียของท่านได้ทางหนึ่ง   และจะทำให้เป็นประโยชน์ในด้านการเพิ่มจำนวนและปริมาณน้ำนมในกิจการโคนมของท่านยิ่งขึ้น   จึงเห็นสมควรที่จะเรียกช่วงเวลาอันสำคัญนี้ว่า   "นาทีทองในโคนมตัวเมีย"


จะรู้ได้อย่างไรว่าโคตั้งท้องหรือไม่
        เมื่อโคนาง ได้รับการผสมไปแล้วประมาณ 21 วันหากโคไม่กลับมาแสดงอาการเป็นสัดอีกก็อาจคาดได้ว่าผสมติดหรือโคตัวนั้น เริ่มตั้งท้องแล้ว   เพื่อให้รู้แน่ชัดยิ่งขึ้นภายหลังจากการผสมโคนางแล้ว  50  วันขึ้นไปอาจติดต่อสัตวแพทย์หรือบุคคลผู้มีความ ชำนาญในการตรวจท้องแม่โค (โดยวิธีล้วงเข้าไปคลำลูกโคทางทวารของแม่โค) มาทำการตรวจท้องแม่โคก็จะทราบได้แน่ชัดยิ่งขึ้น
........ข้อสังเกต ในกรณีโคสาว   จะสังเกตได้จากการเจริญเติบโตที่เร็วขึ้น   กินจุขึ้น   ความจุของลำตัวโดยเฉพาะส่วนท้องซี่โครงจะกางออกกว้าง ขึ้น   ขนเป็นมัน   และไม่เป็นสัดอีก


การคลอดลูก
          โดยทั่วไปแม่โคจะตั้งท้องประมาณ  283  วัน  หรือประมาณ  9  เดือนเศษ   ในช่วงนี้แม่โคจะได้การเอาใจใส่ดูแลเรื่องความเป็นอยู่และอาหารเป็นพิเศษ   เพราะลูกในท้องเจริญขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นไปอย่างรวดเร็ว   ในระยะก่อนคลอดประมาณ  45 - 80  วัน ควรเพิ่มอาหารผสมให้แก่แม่โคท้อง  เพื่อแม่โคจะได้นำไปเสริมสร้างร่างกายส่วนที่สึกหรอ   และนำไปเลี้ยงลูก   หรือนำไปสร้างความเจริญเติบโตสำหรับอวัยวะบางอย่างที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่   เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์มากที่สุดและเพื่อไม่ให้แม่โคซูบผอม   สำหรับแม่โคที่กำลังให้นม   เมื่อตั้งท้องลูกตัวต่อไปควรจะหยุดรีดนมก่อนคลอดประมาณ  45 - 60  วัน  สำหรับแม่โคท้องแรกหรือท้องสาวหรือแม่โคที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ (อายุไม่ถึง 5 ปี)  แม้จะให้ลูกมาแล้ว 1 หรือ 2 ตัวก็ตาม   ก่อนคลอดลูกตัวต่อไปควรจะหยุดพักการรีดนมเร็วกว่าแม่โคที่โตเต็มที่แล้ว   อย่างน้อยก่อนคลอดประมาณ  45 - 60  วัน  เพื่อให้แม่โคได้มีเวลาเตรียมตัวได้พักผ่อนร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ บ้าง   มิฉะนั้นแม่โคอาจจะได้รับผลกระทบกระเทือน   นั่นหมายถึงผลเสียหายที่จะตามมาภายหลังได้   เช่น   ร่างกายจะชะงักการเติบโตเพราะอาหารไม่พอ   ร่างกายไม่สมบูรณ์  เมื่อคลอดลูกออกมาลูกโคอ่อนแอ  มีช่วงระยะการให้นมในปีต่อไปสั้นลง    ผสมติดยาก   ทิ้งช่วงการเป็น

อาการที่แม่โคแสดงออกเมื่อใกล้คลอด
          เราอาจจะสังเกตอาการต่างๆได้ดังนี้
    1.  เต้านมขยายใหญ่ขึ้น
    2.  อวัยวะเพศขยายตัวขึ้น   ยิ่งใกล้วันคลอดเข้ามาสังเกตเห็นมีน้ำเมือกไหลออกมาจากช่องคลอด
    3.  กระดูกเชิงกรานขยายตัวออกกว้างขึ้น   โคนหางตรงกระดูกก้นกบจะบุ๋มลึกลงทั้งสองข้าง
    4.  ช่องท้องตรงสวาปจะลึกหย่อนลง
    5.  ยกหางขึ้น-ลงเล็กน้อยเป็นครั้งคราว
    6.  ถ้าเป็นโคที่ปล่อยรวมฝูงจะพยายามแยกตัวออกจากฝูง
    7.  แม่โคที่ถูกขังจะไม่สนใจในการกินหญ้า   อาหาร   ยืนกระสับกระส่าย   ขกขาหลังแตะอยู่เรื่อย ๆ มีการเบ่งคลอดตลอดเวลา


จะรู้ได้อย่างไรลูกโคคลอดปกติหรือไม่
          ลักษณะการคลอดลูกในท่าปกติของแม่โค
คือ   ลูกโคจะเหยียดขาหน้าตรงออกมาพร้อมกันทั้งสอง (ส่วนหัวแนบชิดกับเข่า) จะเห็น เป็น 3 จุด  คือ  2 กีบข้างหน้า  และจมูก   ถ้าหากมีลักษณะอื่น ๆ ผิดไปจากนี้ให้ถือเป็นการคลอดที่ผิดปกติ   อาทิเช่น   หัวพับหรือเอาด้าน หลังออกมาก่อนส่วนอื่น   หรือกรณีที่ลูกโคมีขนาดใหญ่จนไม่สามารถผ่านช่องคลอดออกมาได้   หรือกรณีอื่น ๆ เช่นนี้ควรรีบติดต่อสัตวแพทย์มาช่วยทำการคลอด   และหากลูกโคคลอดออกมาแล้วรกยังไม่ออกตามมาถ้าเกิน  12  ชั่วโมง   ควรรีบตามสัตวแพทย์มาช่วยแก้ไข   เพราะถือว่ามีความผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นกับแม่โค   ซึ่งต้องรีบทำการรักษา   หลังจากลูกโคคลอดออกมาแล้วควรรีบเช็ดทำความสะอาดตัวลูกโคให้แห้งโดยเร็ว   โดยเฉพาะเมือกบริเวณจมูกปากและลำตัวพร้อมกับทำการตัดสายสะดือให้ห่างจากตัวโคประมาณ 1 นิ้วแล้วทา

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

การผสมพันธุ์


การผสมพันธุ์
เมื่อคลอดแล้วปกติแม่โคจะกลับเป็นสัดอีกภายใน 30 - 50 วัน แต่ควรผสมหลัง 60 วัน การผสมภายใน 40 วันหลังคลอดอาจมีปัญหาทำให้เกิดการติดเชื้อจากแบคทีเรีย ควรผสมหลัง 60 วัน การที่จะให้แม่โคให้ลูกปีละตัว แม่โคจะต้องได้รับการผสมอีกภายใน 80 วัน ถ้าแม่โคผอมจะกลับเป็นสัดช้าลง
      แม่โคจะผสมติดได้จะต้องอยู่ในระยะที่เป็นสัดซึ่งเป็นระยะที่แม่โคจะแสดงอาการมีอารมณ์ทางเพศและพร้อมที่จะยอมให้ผสม แม่โคที่เป็นสัดจะมีอาการกระวนกระวายกว่าปกติ ไล่ขึ้นทับตัวอื่นหรือยอมให้ตัวอื่นขึ้นทับ อวัยวะเพศจะบวมกว่าปกติ ผนังด้านในช่องคลอดเมื่อใช้เมือเปิดออกดูจะมีสีชมพูออกแดง ในช่วงต้นของการเป็นสัดอาจมีเมือกใสๆ ไหลออกมาก ในช่วงหลังๆ น้ำเมือกจะข้นและเหนียวขึ้น แม่โคจะเป็นสัดอยู่นานประมาณ 24 - 36 ช.ม. ถ้าไม่ได้รับการผสมหรือผสมไม่ติด อีกประมาณ 20 - 22 วัน (เฉลี่ย 21 วัน) จะกลับเป็นสัดใหม่อีก
ช่วงการเป็นสัดได้แก่ระยะการเป็นสัดจากครั้งก่อนถึงครั้งหลัง ช่วงการเป็นสัดของโคเฉลี่ย 21 วัน แต่แม่โคในฝูงประมาณ 84% จะมีช่วงการเป็นสัดในระยะ 18 - 24 วัน อีก 5% เป็นสัดก่อน 18 วัน และ 11% เป็นหลัง 24 วัน การเก็บประวัติการเป็นสัดของแม่โคจึงเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยสังเกตการเป็นสัดของแม่โคที่ใช้การผสมเทียมและการจูงผสม

วิธีการผสมพันธุ์
      การผสมพันธุ์โค มีอยู่ 3 วิธี คือ 

1.  การปล่อยให้พ่อพันธุ์คุมฝูง  
        
 เป็นการปล่อยพ่อพันธุ์ให้คุมฝูงแม่โคและให้มีการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ ซึ่งมีข้อดีคือ ผู้เลี้ยงไม่ต้องคอยสังเกตการเป็นสัดของแม่พันธุ์ พ่อพันธุ์จะทราบและผสมเอง แต่มีข้อเสียคือ ถ้าแม่พันธุ์เป็นสัดหลายตัวในเวลาใกล้เคียงกัน จะทำให้พ่อพันธุ์มีร่างกายทรุดโทรม วิธีแก้ไข โดยขังพ่อพันธุ์ไว้เมื่อปล่อยแม่พันธุ์ออกไปเลี้ยงในแปลงหญ้า แล้วนำพ่อพันธุ์เข้าผสมเมื่อฝูงแม่พันธุ์กลับเข้าคอก ในพ่อโคอายุ 3 ปีขึ้นไป ควรใช้คุมฝูงแม่โคประมาณ 20 - 30 แม่/พ่อโค 1 ตัว แต่ในพ่อโคอายุ 2 ปีถึง 2 ปีครึ่ง ควรใช้คุมฝูงแม่โคประมาณ 12 - 25 ตัว/พ่อโค 1 ตัว          
ในทุกๆ วันที่ปล่อยแม่โคออกไปในทุ่งหญ้า ควรขังพ่อโคไว้ในคอกพร้อมทั้งหญ้าและน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ มีร่มเงาให้พ่อโค พ่อโคจะมีเวลาอยู่กับแม่โคและผสมกับแม่โคที่เป็นสัดในช่วงเช้า เย็น และกลางคืน แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่มีพ่อโคตัวอื่นอยู่ในทุ่งหญ้าด้วย มิฉะนั้นจะถูกแอบผสมก่อน การขังพ่อโคไว้ดังกล่าวเพื่อให้พ่อโคมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งจะช่วยให้ประสิทธิภาพการผสมพันธุ์สูงขึ้น พร้อมที่จะผสมกับแม่โคได้เสมอ และอายุการใช้งานของพ่อโคจะยาวนานขึ้น

2.  การจูงผสม
        เป็นการผสมโดยจูงพ่อพันธุ์มาผสมกับแม่พันธุ์หรือจูงแม่พันธุ์มาผสมกับพ่อพันธุ์ การผสมโดยวิธีนี้ควรแยกพ่อพันธุ์ออกเลี้ยงต่างหาก เพราะจะทำให้พ่อพันธุ์มีสุขภาพสมบูรณ์ดี และพ่อพันธุ์สามารถผสมกับแม่พันธุ์ได้จำนวนมากกว่าการใช้คุมฝูง แต่มีข้อเสียคือผู้เลี้ยงต้องคอยสังเกตการเป็นสัดเอง ปกติพ่อโคสามารถใช้ผสมได้สัปดาห์ละ 5 ครั้ง หากมีการเลี้ยงดูที่ดี
เกษตรกรรายย่อยเลี้ยงแม่โครายละประมาณ 5 - 10 แม่ การที่จะเลี้ยงพ่อพันธุ์ไว้ใช้คุมฝูงอาจะไม่คุ้มกับการลงทุน เพราะพ่อโค 1 ตัว สามารถใช้คุมฝูงได้ 25 - 50 ตัว ดังที่กล่าวมา หากอยู่นอกเขตบริการผสมเทียม จึงควรรวมตัวกันเป็นกลุ่มแล้วจัดซื้อหรือจัดหาพ่อพันธุ์มาประจำกลุ่ม เมื่อแม่โคเป็นสัดจึงนำแม่โคมารับการผสมจากพ่อโค เจ้าของแม่โคอาจต้องเสียค่าบริการให้การผสมบ้าง เพราะผู้เลี้ยงพ่อพันธุ์ต้องมีค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูพ่อพันธุ์
แม่โคที่จะผสมกับพ่อโคจะต้องปราศจากโรคแท้งติดต่อ (หรือโรคบรูเซลโลซีส) ดังนั้น พ่อโคและแม่โคของสมาชิกกลุ่มทุกตัวจะต้องได้รบัการตรวจโรคและปลอดโรคแท้งติดต่อ เพราะหากพ่อพันธุ์เป็นโรคแล้วจะแพร่โรคให้แม่โคทุกตัวที่ได้รับการผสมด้วย

3.  การผสมเทียม

เป็นวิธีการผสมที่นำน้ำเชื้อพ่อพันธุ์มาผสมกับแม่พันธุ์ที่เป็นสัด โดยผู้ที่ทำการผสมเทียมจะสอดหลอดฉีดน้ำเชื้อเข้าไปในอวัยวะเพศของแม่โคที่เป็นสัด ปกติจะสอดหลอดผ่านคอมดลูก (cervic) เข้าไปปล่อยน้ำเชื้อในมดลูกของแม่โค

การผสมเทียมมีข้อดี คือ
1) ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อและเลี้ยงโคพ่อพันธุ์
2) ในกรณีฟาร์มปรับปรุงพันธุ์ที่ต้องใช้พ่อพันธุ์คุมฝูงละตัว ต้องแบ่งแปลงหญ้าตามจำนวนฝูงดังกล่าวแต่ถ้าใช้ผสมเทียม ไม่จำเป็นต้องแบ่งแปลงมากขนาดนั้น
3) สามารถเก็บสถิติในการผสมและรู้กำหนดวันคลอดที่ค่อนข้างแน่นอน
4) สามารถใช้น้ำเชื้อโคพันธุ์ดีจากที่ต่างๆ ได้สะดวก ทำให้ความก้าวหน้าในการปรับปรุงพันธุ์เร็วขึ้น
5) ถ้าใช้ควบคู่กับฮอร์โมนควบคุมการเป็นสัด จะทำให้การจัดการเกี่ยวกับการผสมสะดวกขึ้น
ข้อเสียของการผสมเทียม คือ
1) ต้องใช้แรงงานสังเกตการเป็นสัดหรือใช้โคตรวจจับการเป็นสัด
2) ต้องใช้คอกและอุปกรณ์ในการผสมเทียม เสียเวลาต้อนแยกโคไปผสมในขณะที่มีลูกติดแม่โคอยู่
3) แปลงเลี้ยงควรใกล้บริเวณผสมเทียม มิฉะนั้นจะเสียเวลาต้อนโคจากแปลงที่ไกล
4) เสียค่าใช้จ่ายในการจ้างคนหรือฝึกอบรมคนผสมเทียมของฟาร์มเอง
5) อัตราการผสมติดขึ้นอยู่กับความสามารถในการตรวจจับการเป็นสัดและความชำนาญของคนผสม
6) เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำเชื้อ

การทำเครื่องหมาย

การทำเครื่องหมาย
             เพื่อประโยชน์ในการเก็บข้อมูลของโคแต่ละตัว และนำข้อมูลไปใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ หรือวางแผนการจัดการฟาร์มด้านต่างๆ ช่วยให้ผู้เลี้ยงทราบผลผลิตรายตัวที่ดี ไม่ดีไว้เลี้ยง หรือจำหน่าย วิธีทำเครื่องหมายโคมีหลายวิธี เช่น ตีตราที่หนังของสัตว์ ทำเครื่องหมายเบอร์ที่หู สลักเบอร์ในหู พลาสติกติดที่หู ป้ายเลขห้อยคอ เป็นต้น


การติดเบอร์หู (ear tagging)             
        นิยมแบบพลาสติกเพราะง่ายในการติด และอ่านสามารถอ่านเบอร์ได้ทั้งสองทางแต่ไม่ถาวร สูญหายง่าย อายุใช้งานประมาณ 2 ปี มองยากโดยเฉพาะในโรงรีดนมถ้าเป็น แบบโลหะ ง่ายในการติด อายุการใช้งานนานกว่าเบอร์พลาสติกแต่อ่านหมายเลขยากกว่า
         การติดเบอร์หูด้วยพลาสติก นิยมกันมากแต่อาจหลุดหรือขาดได้ ปกติจะทำร่วมกับการ ตีเบอร์ ขั้นตอนในการติดเบอร์พลาสติกจะต้อง เลือกเบอร์หูประกอบในเครื่องมือติดเบอร์หู จับยึดตัวโคติดโดยหนีบหมายเลขติดใบหูจากนั้นใส่ยาป้องกันการติดเชื้อ และสังเกตการติดเชื้อ ประมาณ 3-5 วัน
แสดงการติดเบอร์หูด้วยพลาสติก

แสดงตำแหน่งการติดเบอร์หูด้วยพลาสติก


การตีเบอร์ (branding)             
      ทั้งการตีเบอร์ร้อนและเบอร์เย็นสะดวกรวดเร็วในการอ่าน ตัวเลขบางตัวมองไม่ชัด อาจเกิดการติดเชื้อจากการตีเบอร์

การตีเบอร์เย็น (freeze branding)
             นิยมทำในโคนม และต้นทุนไม่สูง เห็นเครื่องหมายได้ง่าย การตีเบอร์ควรเป็นพื้นที่ขนสีดำ บริเวณตะโพก และการตีเบอร์เย็นเป็นการทำลายเซลล์สร้างสีขน


          ขั้นตอนการตีเบอร์เย็น เตรียมหมายเลขทำจากทองเหลือง แช่ไนโตรเจนเหลว อุณหภูมิ –196 องศาเซลเซียส หรือ isopropyl alcohol 99 % จากนั้นยึดตัวโคให้นิ่ง แล้วตีเบอร์โดยกดหมายเลขที่ตีเบอร์ ประมาณ 30 –60 วินาที ทำลายเซลล์สร้างขน และเกิดรอบหมายเลข ระวังการดิ้นของโคเสร็จแล้วปล่อยโค





การตีตราเบอร์ร้อน            


          มีหลักการคล้ายกับการตีตราเย็น ต่างกันใช้อุปกรณ์ที่ใช้ความร้อน ขณะตีต้องระวังบังคับโคให้อยู่นิ่ง ซึ่งการตีเบอร์นี้ไม่นิยมใช้การตีตราร้อนกับโคนม ส่วนใหญ่ใช้กับโคเนื้อ และหลังการทำจะเป็นตัวเลขสีดำมองชัดเจน






การสูญเขาหรือการตัดเขา (Dehorning)
            
เป็นการป้องกันอันตรายจากเขา ช่วยลดขนาดการใช้พื้นที่ เพื่อควบคุมดูแลโค และความปลอดภัย
โดยอายุที่ควรตัดเขาควรตัดเขาในขณะที่อายุยังน้อย เพราะการดูแลง่ายกว่า ช่วงอายุตั้งแต่ 10 วัน - 5 เดือน วิธีการตัดเขา ขึ้นอยู่กับอายุของโคมีหลายวิธี เช่น
        การใช้เหล็กร้อน (Hot iron) ใช้เหล็กเผาไฟแล้วทาบลงประมาณ 10-20 วินาที แล้วโรยยาป้องกัน แมลง ปกติจะตกสะเก็ดภายใน 4-6 สัปดาห์ และการใช้เหล็กร้อน อายุไม่ควรเกิน 5 เดือน ใช้เหล็กร้อนขนาดศูนย์กลาง 6 หุนให้พอดีเพื่อป้องกันการงอกได้อีก
        การตัดเขาด้วยเลื่อย (Dehorning saws) ควรใช้ในโคอายุ 1-2 ปี โดยเฉพาะการตัดเขาโคขนาดใหญ่ หรือเขาที่มีลักษณะผิดปกติ
        วิธีทำ : จับหรือล้มโคลงบิดหัวโคดึงหางสอดเข้าขาหลัง กดสวาป มัดขาทั้งสี่ด้วยเชือกตัดขนบริเวณเขา จากนั้นเลื่อยเสร็จนำเหล็กร้อนมาจี้บริเวณที่ตัดโรยยา ป้องกันแมลง  การตัดเขาแบบเลื่อยจะทำค่อนข้างยาก มีปัญหาในการจับ การตัดโดยหากตัดลึก จะทำให้เกิดโพรงของแผลเกิดการติดเชื้อได้ง่าย ปกติจะหายภายใน 3-4 สัปดาห์


 





 

อาหารโคนม


อาหารหยาบ (Roughage)
            เป็นอาหารพลังงานชนิดเยื่อใย และเป็นอาหารหลักสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้อง โดยปกติสัตว์เคี้ยวเอื้องจะมีปริมาณการกินได้ของวัตถุแห้ง ประมาณ 2.5% ของน้ำหนักตัว/วัน อาหารหยาบดังกล่าวได้แก่ หญ้าสด, หญ้าแห้ง, หญ้าหมัก, ต้นข้าวโพดสด, ต้นข้าวโพดหมัก และเศษเหลือทางการเกษตร

ลักษณะของอาหารหยาบ
           มีความเบาเมื่อเทียบหน่วยน้ำหนักต่อหน่วยปริมาตร มีเยื่อใยมากกว่า 18% มีการย่อยได้ (Digestibility) ต่ำกว่าอาหารข้นมีความแตกต่างกันของระดับโปรตีน คุณภาพของอาหารหยาบแต่ละชนิด แต่มีไวตามินชนิดละลายในไขมัน (A,D,E และ K) ส่วนแคลเซียม (Ca) และโปรแทสเซียม (K) สูงกว่าอาหารข้น
            ส่วนใหญ่มาจากพืชอาหารสัตว์ เช่น หญ้า พืชตระกูลถั่ว ต้นข้าวโพด ต้นข้าวฟาง เป็นอาหารหลักที่ใช้เลี้ยงโคนมเพราะมีต้นทุนต่ำ และผลผลิตที่เหลือทางการเกษตร เช่น ข้าวฟาง เปลือกข้าวโพดฟักอ่อน ต้นข้าวโพด เปลือกสับปะรด เปลือกถั่วเหลืองและ
ถั่วลิสง


ข้อพิจารณาการใช้อาหารหยาบ
            ชนิดและพันธุ์ของอาหารหยาบ ในเรื่องคุณภาพอาหารสัตว์เขตร้อนที่มีคุณภาพต่ำกว่า เขตอบอุ่น และการเจริญเติบโตจึงทำให้มีผลต่อส่วนประกอบของโภชนะที่ต่างกันตามชนิด



การถนอมพืชอาหารสัตว์
         
   เป็นการเก็บรักษาอาหารในช่วงที่มีมากไว้เป็นอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องในเวลาที่ขาดแคลน
การสับและการบด มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะรูปร่างของอาหาร สัตว์กินอาหารได้สม่ำเสมอ แต่ต้นทุนเพิ่มขึ้น อาหารเป็นฝุ่น สูญเสียในช่วงบด การเติมกากน้ำตาล น้ำมัน หรือน้ำ จะช่วยให้ดีขึ้น
การอัดเม็ด โดยปกติการอัดเม็ดสัตว์เคี้ยวเอื้องชอบกิน ถ้าเม็ดมีขนาดใหญ่ไม่ควรใช้เลี้ยงสัตว์อายุน้อย โดยทั่วไปการอัดเม็ดอาหารหยาบคุณค่าจะต่ำ และมีการเพิ่มความจุแน่น เพิ่มอัตราการไหลผ่านอาหารออกจากรูเมนเร็ว แต่การย่อยได้ที่ระดับลำไส้เล็กมีมากกว่า จึงทำให้การใช้ประโยชน์ของพลังงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การอัดก้อนอาหารหยาบ มีลักษณะเป็นก้อนเหลี่ยมหรือกลม จากการศึกษาการอัดก้อนอาหารหยาบ พบว่า ง่ายและสะดวกต่อการเก็บรักษา การขนส่ง และการให้สัตว์





อาหารข้น (Concentrate)
            ลักษณะอาหารข้นจะมีความเข็มข้นของสารอาหารสูงกว่าอาหารหยาบ แหล่งอาหารข้นที่สำคัญได้แก่
เมล็ดธัญพืช เป็นแหล่งพลังงานได้เป็นอย่างดี เมล็ดธัญพืชเหล่านี้ได้แก่ ข้าวโพด ปลายข้าว ข้าวฟ่าง
พืชตระกูลถั่ว ที่เป็นแหล่งอาหารโปรตีน ผลผลิตจากถั่ว เช่น กากถั่วลิสง กากถั่วเหลือง
ของเหลือจากอุตสาหกรรมการผลิตน้ำมัน โดยหลังจากสกัดน้ำมันแล้วจะมีปริมาณโปรตีนที่เหลืออยู่ระดับสูง เช่น ปาล์ม เมล็ดฝ้าย เมล็ดงา เมล็ดนุ่น และเมล็ดทานตะวัน
        โปรตีนจากสัตว์ เป็นอาหารโคนมที่มีคุณภาพดี เพราะมีแหล่งโปรตีนที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นมาก เช่น ปลาป่น เนื้อป่น เลือดป่น ขนไก่ป่น



ลักษณะของอาหารข้น
            จะมีระดับโปรตีนมากกว่า 18% ระดับเยื่อใยน้อยกว่า 18% มีระดับ TDN สูงกว่า 60% และสามารถแบ่งเป็นอาหารข้นประเภทพลังงาน และอาหารข้นประเภทโปรตีน โดยมีโภชนะแตกต่างกัน

ข้อจำกัดในการใช้วัตถุดิบ
            วัตถุดิบอาหารประเภทนี้จะมีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตประเภทไม่มีโครงสร้าง เช่น น้ำตาล แป้ง มีโปรตีน และมีเยื่อใย ไม่เกิน 20 และ 18% ตามลำดับ และมี NDF ไม่เกิน 35%