Powered By Blogger

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

การทำเครื่องหมาย

การทำเครื่องหมาย
             เพื่อประโยชน์ในการเก็บข้อมูลของโคแต่ละตัว และนำข้อมูลไปใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ หรือวางแผนการจัดการฟาร์มด้านต่างๆ ช่วยให้ผู้เลี้ยงทราบผลผลิตรายตัวที่ดี ไม่ดีไว้เลี้ยง หรือจำหน่าย วิธีทำเครื่องหมายโคมีหลายวิธี เช่น ตีตราที่หนังของสัตว์ ทำเครื่องหมายเบอร์ที่หู สลักเบอร์ในหู พลาสติกติดที่หู ป้ายเลขห้อยคอ เป็นต้น


การติดเบอร์หู (ear tagging)             
        นิยมแบบพลาสติกเพราะง่ายในการติด และอ่านสามารถอ่านเบอร์ได้ทั้งสองทางแต่ไม่ถาวร สูญหายง่าย อายุใช้งานประมาณ 2 ปี มองยากโดยเฉพาะในโรงรีดนมถ้าเป็น แบบโลหะ ง่ายในการติด อายุการใช้งานนานกว่าเบอร์พลาสติกแต่อ่านหมายเลขยากกว่า
         การติดเบอร์หูด้วยพลาสติก นิยมกันมากแต่อาจหลุดหรือขาดได้ ปกติจะทำร่วมกับการ ตีเบอร์ ขั้นตอนในการติดเบอร์พลาสติกจะต้อง เลือกเบอร์หูประกอบในเครื่องมือติดเบอร์หู จับยึดตัวโคติดโดยหนีบหมายเลขติดใบหูจากนั้นใส่ยาป้องกันการติดเชื้อ และสังเกตการติดเชื้อ ประมาณ 3-5 วัน
แสดงการติดเบอร์หูด้วยพลาสติก

แสดงตำแหน่งการติดเบอร์หูด้วยพลาสติก


การตีเบอร์ (branding)             
      ทั้งการตีเบอร์ร้อนและเบอร์เย็นสะดวกรวดเร็วในการอ่าน ตัวเลขบางตัวมองไม่ชัด อาจเกิดการติดเชื้อจากการตีเบอร์

การตีเบอร์เย็น (freeze branding)
             นิยมทำในโคนม และต้นทุนไม่สูง เห็นเครื่องหมายได้ง่าย การตีเบอร์ควรเป็นพื้นที่ขนสีดำ บริเวณตะโพก และการตีเบอร์เย็นเป็นการทำลายเซลล์สร้างสีขน


          ขั้นตอนการตีเบอร์เย็น เตรียมหมายเลขทำจากทองเหลือง แช่ไนโตรเจนเหลว อุณหภูมิ –196 องศาเซลเซียส หรือ isopropyl alcohol 99 % จากนั้นยึดตัวโคให้นิ่ง แล้วตีเบอร์โดยกดหมายเลขที่ตีเบอร์ ประมาณ 30 –60 วินาที ทำลายเซลล์สร้างขน และเกิดรอบหมายเลข ระวังการดิ้นของโคเสร็จแล้วปล่อยโค





การตีตราเบอร์ร้อน            


          มีหลักการคล้ายกับการตีตราเย็น ต่างกันใช้อุปกรณ์ที่ใช้ความร้อน ขณะตีต้องระวังบังคับโคให้อยู่นิ่ง ซึ่งการตีเบอร์นี้ไม่นิยมใช้การตีตราร้อนกับโคนม ส่วนใหญ่ใช้กับโคเนื้อ และหลังการทำจะเป็นตัวเลขสีดำมองชัดเจน






การสูญเขาหรือการตัดเขา (Dehorning)
            
เป็นการป้องกันอันตรายจากเขา ช่วยลดขนาดการใช้พื้นที่ เพื่อควบคุมดูแลโค และความปลอดภัย
โดยอายุที่ควรตัดเขาควรตัดเขาในขณะที่อายุยังน้อย เพราะการดูแลง่ายกว่า ช่วงอายุตั้งแต่ 10 วัน - 5 เดือน วิธีการตัดเขา ขึ้นอยู่กับอายุของโคมีหลายวิธี เช่น
        การใช้เหล็กร้อน (Hot iron) ใช้เหล็กเผาไฟแล้วทาบลงประมาณ 10-20 วินาที แล้วโรยยาป้องกัน แมลง ปกติจะตกสะเก็ดภายใน 4-6 สัปดาห์ และการใช้เหล็กร้อน อายุไม่ควรเกิน 5 เดือน ใช้เหล็กร้อนขนาดศูนย์กลาง 6 หุนให้พอดีเพื่อป้องกันการงอกได้อีก
        การตัดเขาด้วยเลื่อย (Dehorning saws) ควรใช้ในโคอายุ 1-2 ปี โดยเฉพาะการตัดเขาโคขนาดใหญ่ หรือเขาที่มีลักษณะผิดปกติ
        วิธีทำ : จับหรือล้มโคลงบิดหัวโคดึงหางสอดเข้าขาหลัง กดสวาป มัดขาทั้งสี่ด้วยเชือกตัดขนบริเวณเขา จากนั้นเลื่อยเสร็จนำเหล็กร้อนมาจี้บริเวณที่ตัดโรยยา ป้องกันแมลง  การตัดเขาแบบเลื่อยจะทำค่อนข้างยาก มีปัญหาในการจับ การตัดโดยหากตัดลึก จะทำให้เกิดโพรงของแผลเกิดการติดเชื้อได้ง่าย ปกติจะหายภายใน 3-4 สัปดาห์


 





 

1 ความคิดเห็น:

  1. สอบถาม สั่งทำโลโก้ สำหรับตีเบอร์เย็นได้ที่ไหนบ้างครับ

    ตอบลบ