Powered By Blogger

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

อาหารโคนม


อาหารหยาบ (Roughage)
            เป็นอาหารพลังงานชนิดเยื่อใย และเป็นอาหารหลักสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้อง โดยปกติสัตว์เคี้ยวเอื้องจะมีปริมาณการกินได้ของวัตถุแห้ง ประมาณ 2.5% ของน้ำหนักตัว/วัน อาหารหยาบดังกล่าวได้แก่ หญ้าสด, หญ้าแห้ง, หญ้าหมัก, ต้นข้าวโพดสด, ต้นข้าวโพดหมัก และเศษเหลือทางการเกษตร

ลักษณะของอาหารหยาบ
           มีความเบาเมื่อเทียบหน่วยน้ำหนักต่อหน่วยปริมาตร มีเยื่อใยมากกว่า 18% มีการย่อยได้ (Digestibility) ต่ำกว่าอาหารข้นมีความแตกต่างกันของระดับโปรตีน คุณภาพของอาหารหยาบแต่ละชนิด แต่มีไวตามินชนิดละลายในไขมัน (A,D,E และ K) ส่วนแคลเซียม (Ca) และโปรแทสเซียม (K) สูงกว่าอาหารข้น
            ส่วนใหญ่มาจากพืชอาหารสัตว์ เช่น หญ้า พืชตระกูลถั่ว ต้นข้าวโพด ต้นข้าวฟาง เป็นอาหารหลักที่ใช้เลี้ยงโคนมเพราะมีต้นทุนต่ำ และผลผลิตที่เหลือทางการเกษตร เช่น ข้าวฟาง เปลือกข้าวโพดฟักอ่อน ต้นข้าวโพด เปลือกสับปะรด เปลือกถั่วเหลืองและ
ถั่วลิสง


ข้อพิจารณาการใช้อาหารหยาบ
            ชนิดและพันธุ์ของอาหารหยาบ ในเรื่องคุณภาพอาหารสัตว์เขตร้อนที่มีคุณภาพต่ำกว่า เขตอบอุ่น และการเจริญเติบโตจึงทำให้มีผลต่อส่วนประกอบของโภชนะที่ต่างกันตามชนิด



การถนอมพืชอาหารสัตว์
         
   เป็นการเก็บรักษาอาหารในช่วงที่มีมากไว้เป็นอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องในเวลาที่ขาดแคลน
การสับและการบด มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะรูปร่างของอาหาร สัตว์กินอาหารได้สม่ำเสมอ แต่ต้นทุนเพิ่มขึ้น อาหารเป็นฝุ่น สูญเสียในช่วงบด การเติมกากน้ำตาล น้ำมัน หรือน้ำ จะช่วยให้ดีขึ้น
การอัดเม็ด โดยปกติการอัดเม็ดสัตว์เคี้ยวเอื้องชอบกิน ถ้าเม็ดมีขนาดใหญ่ไม่ควรใช้เลี้ยงสัตว์อายุน้อย โดยทั่วไปการอัดเม็ดอาหารหยาบคุณค่าจะต่ำ และมีการเพิ่มความจุแน่น เพิ่มอัตราการไหลผ่านอาหารออกจากรูเมนเร็ว แต่การย่อยได้ที่ระดับลำไส้เล็กมีมากกว่า จึงทำให้การใช้ประโยชน์ของพลังงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การอัดก้อนอาหารหยาบ มีลักษณะเป็นก้อนเหลี่ยมหรือกลม จากการศึกษาการอัดก้อนอาหารหยาบ พบว่า ง่ายและสะดวกต่อการเก็บรักษา การขนส่ง และการให้สัตว์





อาหารข้น (Concentrate)
            ลักษณะอาหารข้นจะมีความเข็มข้นของสารอาหารสูงกว่าอาหารหยาบ แหล่งอาหารข้นที่สำคัญได้แก่
เมล็ดธัญพืช เป็นแหล่งพลังงานได้เป็นอย่างดี เมล็ดธัญพืชเหล่านี้ได้แก่ ข้าวโพด ปลายข้าว ข้าวฟ่าง
พืชตระกูลถั่ว ที่เป็นแหล่งอาหารโปรตีน ผลผลิตจากถั่ว เช่น กากถั่วลิสง กากถั่วเหลือง
ของเหลือจากอุตสาหกรรมการผลิตน้ำมัน โดยหลังจากสกัดน้ำมันแล้วจะมีปริมาณโปรตีนที่เหลืออยู่ระดับสูง เช่น ปาล์ม เมล็ดฝ้าย เมล็ดงา เมล็ดนุ่น และเมล็ดทานตะวัน
        โปรตีนจากสัตว์ เป็นอาหารโคนมที่มีคุณภาพดี เพราะมีแหล่งโปรตีนที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นมาก เช่น ปลาป่น เนื้อป่น เลือดป่น ขนไก่ป่น



ลักษณะของอาหารข้น
            จะมีระดับโปรตีนมากกว่า 18% ระดับเยื่อใยน้อยกว่า 18% มีระดับ TDN สูงกว่า 60% และสามารถแบ่งเป็นอาหารข้นประเภทพลังงาน และอาหารข้นประเภทโปรตีน โดยมีโภชนะแตกต่างกัน

ข้อจำกัดในการใช้วัตถุดิบ
            วัตถุดิบอาหารประเภทนี้จะมีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตประเภทไม่มีโครงสร้าง เช่น น้ำตาล แป้ง มีโปรตีน และมีเยื่อใย ไม่เกิน 20 และ 18% ตามลำดับ และมี NDF ไม่เกิน 35%

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น