โรค คือ การเปลี่ยนแปลงของร่างกายสัตว์ไปจากปกติ เป็นผลให้เกิดอันตรายต่อตัวสัตว์ การเปลี่ยนแปลงนี้หมายถึงการเปลี่ยนแปลงทา งอวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะด้วย เช่น พยาธิใบไม้ในตับทำให้เนื้อตับและท่อน้ำดีอักเสบ เป็นต้น
สาเหตุโน้มนำที่ทำให้เกิดโรคในโคนม ได้แก่
1. สภาพการเลี้ยงดู เช่น อาหารไม่เหมาะสม อยู่อย่างแออัด คอกสกปรก ฯลฯ
2. สิ่งแวดล้อม เช่น อากาศร้อนจัด พื้นที่ลุ่มแฉะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค
3. อายุ เพศและพันธุ์ของสัตว์ โรคบางโรคเป็นกรรมพันธุ์และบางโรคเกิดกับลูกโคได้ง่ายกว่าแม่โค นอกจากนี้อาจเป็นลักษณะเ ฉพาะตัวของโคเอง
4. ความสามารถในการให้ผลผลิต เช่น โคที่ให้น้ำนมสูงย่อมสูญเสียแร่ธาตุอาหารไปกับน้ำนมมาก ทำให้อ่อนแอ เป็นต้น
สาเหตุที่แท้จริงของโรค ได้แก่
1. การได้รับสารอาหารบางอย่างมากหรือน้อยเกินไป เช่น ลูกโคได้รับฟอสฟอรัสและแคลเซียมไม่พอเพียง ทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อน เป ็นต้น
2. เกิดจากการติดเชื้อ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว เชื้อราหรือพยาธิ
3. อิทธิพลทางกายภาพ เช่น แสงแดด ความร้อน กระแสไฟฟ้า ฯลฯ
โรคบรูเซลโลซีส
เป็นโรคติดต่อที่ทำความเสียหายต่ออุตสาหกรรมโคนมอย่างยิ่งโรคหนึ่ง ทำให้แม่โคแท้งเมื่อตั้งท้องได้ 7-9 เดือน หรือลูกโคอ่อนแอตายตั้งแต่แรกคลอด อีกทั้งยังสามารถติดต่อถึงคนได้ทางน้ำนม โดยการดื่มนมที่มีเชื้อโรคนี้และทางบาดแผล คนนั้นจะแสดงอาการมีไข้ขึ้น ๆ ลง ๆ
ชื้อที่เข้าสู่ร่างกายโคจะเข้าสู่กระแสเลือด ไปยังอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะที่เต้านม อวัยวะสืบพันธุ์ต่อมน้ำเหลืองและม้าม ยากแก่การรักษา น้ำเมือกจากช่องคลอดของโคป่วยสามารถแพร่กระจายโรคได้ดี ความผิดปกติที่อาจสังเกตพบ ได้แก่ อัตราการแท้งสูงขึ้น ข้อขาบวม ส่วนในโคผู้ อัณฑะจะบวมหรือเป็นหมัน
การป้องกันโรคนี้ คือ ตรวจโรคโคใหม่ก่อนนำเข้าฝูง และเจาะเลือดตรวจทางห้องปฏิบัติการทุกปี คัดโคที่ให้ผลบวกต่อโรคนี้ออกจากฝูงทันที อีกวิธีคือ ฉีดวัคซีนป้องกันให้แก่ลูกโคเพศเมีย เมื่ออายุ 3-8 เดือน ซึ่งจะคุ้มกันได้ประมาณ 7 ปี ห้ามใช้วัคซีนนี้กับลูกโคผู้ เพราะเป็นหมัน และห้ามใช้กับโคอายุเกิน 8 เดือน เพราะจะทำให้ผลการตรวจโรคประจำปีสับสน ฝูงที่มีปัญหาโรคนี้ ควรทำการตรวจโรคปีละ 2 ครั้ง และคัดตัวป่วยออกเชื้อโรคนี้จะอยู่ในกระแสเลือดบางช่วงเวลาเท่านั้น จึงอาจทำให้ผลการตรวจในแต่ละครั้งแตกต่างกันได้
โรคเต้านมอักเสบ
เกิดจากเชื้อโรคเข้าไปเจริญเติบโตและทำลายเนื้อเยื่อของเต้านม หรือเกิดจากอุบัติเหตุและความบกพร่องในการจัดการ อาการของโรคเต้านมอักเสบที่มักพบเห็น ได้แก่
1. น้ำนมมีสีเข้มขึ้น และมีตะกอนปะปน
2. ปริมาณน้ำนมลดลงเฉพาะเต้า หรือหลายเต้า
3. เต้านมบวม ร้อน แดง แข็ง และเจ็บปวด
4. ในรายที่เป็นรุนแรง โคจะซึม หยุดกินอาหารและมีไข้
การป้องกันและรักษาโรคเต้านมอักเสบ ทำได้โดย
1. รักษาความสะอาดของคอก อุปกรณ์ และทุกขั้นตอนของการรีด
2. ใช้น้ำสะอาดหรือน้ำผสมน้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดเต้านมให้สะอาด แล้วเช็ดด้วยผ้าสะอาดก่อนรีดทุกครั้ง
3. อย่าใช้เวลารีดนมนานเกินไป รีดนมให้หมดเต้า แล้วจุ่มหัวนมหรือเช็ดซ้ำด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทันทีที่รีดเสร็จ
4. อย่าเปลี่ยนคนรีดโดยไม่จำเป็น และรีดให้ตรงเวลา
5. ตรวจเช็คน้ำนมทุกเต้าก่อนรีดลงถังโดยรีดใส่ภาชนะสีเข้ม และถ้าพบความผิดปกติ ให้รีดไปทิ้งห่างไกลจากคอก แล้วล้างมือให้สะอาด
6. รีดโคเต้านมอักเสบเป็นตัวสุดท้าย และรีดเต้าที่อักเสบเป็นเต้าสุดท้ายด้วย
7. รักษาทันทีที่พบว่าโคเต้านมอักเสบ แล้วรีบแจ้งหรือขอคำแนะนำจากสัตวแพทย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่เป็นรุนแรง (ดูรายละเอียดจากเรื่องยาสอดเต้านม)
8. ควรสอดยาป้องกันเต้านมอักเสบให้แก่โคที่เคยเป็นโรคนี้เมื่อหยุดรีดนม