วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
การคลอดลูกโค
การทำคลอดนั้นเรามุ่งหวังให้สัตว์ที่เลี้ยงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น กระบวนการคลอดลูกจึงมีความสำคัญต่อการเพิ่มปริมาณสัตว์ที่เลี้ยงอีกประการหนึ่งโคนับเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่ผู้เลี้ยงควรเอาใจใส่ดูแลเมื่อเวลาคลอดลูกเพราะมักจะมีปัญหาเกิดขึ้น เช่น การคลอดยาก และแม่โคไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกต้อง ซึ่งอาจทำให้ลูกโคหรือทั้งแม่และลูกโคตายได้ ทำให้เกิดการสูญเสียกับผู้เลี้ยงเป็นอย่างมาก ดังนั้นถ้าเราทราบกระบวนการคลอดลูกของแม่โคลักษณะท่าทางของลูกที่คลอดออกมา จะทำให้เราสามารถช่วยเหลือทั้งแม่และลูกโคได้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่แม่โคมีปัญหาในการคลอด เราสามารถช่วยได้ทันท่วงที
การคลอดลูกในโค
การคลอดลูกในโคคือการที่แม่โคขับลูกออกมาจากมดลูก เมื่อครบกำหนดของระยะเวลาการตั้งท้อง (ประมาณ 280 วัน) โดยที่ลูกจะถูกขับออกมาทางช่องคลอดของแม่โคในโคแบ่งการคลอดลูกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.การคลอดง่ายหรือการคลอดตามปกติ การคลอดแบบนี้เป็นไปตามธรรมชาติ แม่โคสามารถคลอดลูกออกมาเองโดยไม่ต้องได้รับการช่วยเหลือแต่อย่างใด เมื่อโคตั้งท้องมาได้ประมาณ 280 วัน ก็จะครบกําหนดคลอด
2 การคลอดยากหรือการคลอดลำบาก การคลอดยากหรือการคลอดลำบากเป็นการคลอดที่เนิ่นนานกว่าปกติ จนกระทั่งแม่โคไม่สามารถคลอดเองได้ตามธรรมชาติ ต้องได้รับการช่วยเหลือ ประมาณร้อยละ 5 พบว่าการคลอดยากเกิดในโคนมมากกว่าโคเนื้อ และพบในโคสาวมากกว่าโคที่เคยมีลูกมาแล้ว ถ้าแม่โคคลอดลูกไม่ได้ตามกำหนด ต้องรีบให้ความช่วยเหลือทันที มิฉะนั้นแม่โคและลูกโคอาจจะตายซึ่งถือว่าเป็นการสูญเสียทางเศรษฐกิจของการปศุสัตว์เป็นอย่างมาก เพราะแทนที่จะมีจำนวนโคเพิ่มมากขึ้น แต่กลับลดน้อยลงซึ่งกว่าจะได้ลูกโคเพิ่มขึ้นตัวหนึ่ง ๆ จะต้องใช้เวลาเลี้ยงนานนับปี
ขั้นตอนวิธีการช่วยเหลือการคลอดยาก มีดังนี้
1. แก้ไขโดยการจัดท่าทางของลูกให้มาอยู่ในท่าคลอดที่ปกติเสียก่อนดังนี้1) ดันลูกเข้าไปในมดลูก
2) หมุนตัวลูก หรือ
3 ) กลับตัวลูก หรือ
4) เหยียดอวัยวะบางส่วนของลูกโคให้ยืดออกจากนั้นจึงค่อยออกแรงดึงขาลูกโคให้เข้ามาอยู่ในช่องคลอด แล้วปล่อยให้แม่โคเบ่งคลอดลูกออกมาเอง
ถ้าหากทำวิธีนี้แล้วยังไม่ประสพผลสำเร็จ ก็ต้องใช้วิธีต่อไป
2. ใช้เชือกหรือโซ่ผูกขาหน้าทั้งสองข้าง (ผูกทีละข้าง) แล้วออกแรงดึงลูกให้ออกมาตามจังหวะแรงเบ่งของแม่โค (ใช้คนช่วยดึงข้างละ 1 คน) ถ้ายังไม่ประสพผลสำเร็จอีกก็ทำวิธีอื่นต่อไป
3. ในกรณีที่เราตรวจพบว่าลูกโคยังมีชีวิตอยู่ เราควรทำการผ่าท้องเอาลูกออก (ควรให้ สัตวแพทย์เป็นผู้กระทำ)
4. ในกรณีที่ตรวจพบว่าลูกโคตายอยู่ในท้องแล้วเราสามารถแก้ไขได้โดยใช้เครื่องมือชนิดพิเศษสอดเข้าไปในมดลูกแล้วตัดย่อยเอาส่วนของลูกออกมาทีละชิ้น ๆ จนสามารถที่จะนำลูกโคออกมาได้ วิธีนี้เรียกว่า วิธีตัดย่อยลูกโค (ควรให้สัตวแพทย์เป็นผู้กระทำ)
การจัดการโคนม
1. การเลี้ยงดูลูกโค
ก่อนที่จะพูดถึงการเลี้ยงลูกโค ควรจะทำความรู้รู้จักกับนมน้ำเหลืองก่อน นมน้ำเหลือง คือน้ำนมที่ผลิต ออกมาจากแม่โคในระยะแรกคลอดจะผลิตออกมานานประมาณ 2-5 วัน ต่อจากนั้นก็จะเปลี่ยนเป็นนมธรรมดา ลักษณะของนมน้ำเหลืองจะมีสีขาวปนเหลือง มีรสขม มีคุณสมบัติคือ จะมีภูมิคุ้มโรค อีกทั้งช่วยป้องกันโรคที่ เกิดกับระบบลำไส้และผิวหนังและยังเป็นยาระบายท้องอ่อน ๆ ของลูกโคได้อีกด้วย มีคุณค่าทางอาหารสูงเมื่อ ลูกโคคลอดมาใหม่ ๆ ควรแยกลูกโคออกจากแม่โคทันที และควรจะให้กินนมน้ำเหลืองจากแม่โคภายใน 6 ชั่วโมงหลังคลอด เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงโดยเร็ว ลูกโคควรได้กินนมน้ำเหลืองราว 2-5 วัน ให้กินวันละ 2 เวลา เช้า, เย็น
2. การเลี้ยงโครุ่น (5-7 เดือน)
ลูกโคหลังหย่านม อายุประมาณ 5-7 เดือนขึ้นไปนำมาเลี้ยงในคอกรวม ตัดหญ้าให้กิน
หรือปล่อยแปลงรวม การเลี้ยงโครุ่นนั้นจะต้องมีแร่ธาตุตั้งให้กินตลอดเวลา และจะต้องคอยดูแลให้มีสุขภาพสมบูรณ์ ทำการกำจัดเห็บ ถ่ายพยาธิ เมื่อโครุ่นอายุ 16 เดือนขึ้นไป หรือมีน้ำหนักตัวประมาณ 250 กิโลกรัม ก็จะทำการผสมเทียมได้ สำหรับการให้อาหารข้นให้คำนึงถึงอาหารหลักของโค คือ หญ้าเป็นประการสำคัญหากมีหญ้าที่มีคุณภาพดีอย่างเพียงพอก็จะให้อาหารข้นเสริมเพียงเล็กน้อย โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ วันละ 1-2 กิโลกรัม แต่ถ้าอาหารหยาบคุณภาพต่ำ ปริมาณไม่เพียงพอต้องเสริมเข้าไป โดยดูจากสุขภาพโคว่าสมบูรณ์ มีการเจริญเติบโตปกติ หรือผอมแคระแกร็นอย่างไร ก็ให้เพิ่มหรือลดอาหารข้นลงตามสัดส่วน สูตรอาหารข้นในช่วงนี้ควรมีโปรตีนระหว่าง 14-15 % ซึ่งจะมีราคาไม่แพงมากนัก
ลูกโคหลังหย่านม อายุประมาณ 5-7 เดือนขึ้นไปนำมาเลี้ยงในคอกรวม ตัดหญ้าให้กิน
หรือปล่อยแปลงรวม การเลี้ยงโครุ่นนั้นจะต้องมีแร่ธาตุตั้งให้กินตลอดเวลา และจะต้องคอยดูแลให้มีสุขภาพสมบูรณ์ ทำการกำจัดเห็บ ถ่ายพยาธิ เมื่อโครุ่นอายุ 16 เดือนขึ้นไป หรือมีน้ำหนักตัวประมาณ 250 กิโลกรัม ก็จะทำการผสมเทียมได้ สำหรับการให้อาหารข้นให้คำนึงถึงอาหารหลักของโค คือ หญ้าเป็นประการสำคัญหากมีหญ้าที่มีคุณภาพดีอย่างเพียงพอก็จะให้อาหารข้นเสริมเพียงเล็กน้อย โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ วันละ 1-2 กิโลกรัม แต่ถ้าอาหารหยาบคุณภาพต่ำ ปริมาณไม่เพียงพอต้องเสริมเข้าไป โดยดูจากสุขภาพโคว่าสมบูรณ์ มีการเจริญเติบโตปกติ หรือผอมแคระแกร็นอย่างไร ก็ให้เพิ่มหรือลดอาหารข้นลงตามสัดส่วน สูตรอาหารข้นในช่วงนี้ควรมีโปรตีนระหว่าง 14-15 % ซึ่งจะมีราคาไม่แพงมากนัก
3. การเลี้ยงโคสาว (อายุ 15 เดือน-ตั้งท้อง)
เมื่อโคเจริญเต็มที่ อายุประมาณ 15-18 เดือน ควรจะมีน้ำหนักประมาณ 250-280 กิโลกรัม (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์) ก็จะเริ่มทำการผสมพันธุ์ให้ตั้งท้อง การให้อาหารโคสาวในช่วงนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้โคมีความสมบูรณ์ ได้ขนาดตามที่กำหนด ถ้าโคแคระแกร็น อายุเกิน 18 เดือน แต่น้ำหนักยังน้อยไม่ถึงเกณฑ์เฉลี่ย จะทำให้มีปัญหาในเรื่องการผสมพันธุ์ อาจจะไม่แสดงอาการเป็นสัดให้เห็นชัดเจน หรือผสมติดยาก ดังนั้นควรให้โคได้รับอาหารหยาบ (หญ้า) ที่มีคุณภาพดีอย่างเพียงพอ และเสริมด้วยอาหารข้น อาหารข้นสำหรับโครุ่น-โคสาว โปรตีน 14-15 % ประมาณวันละ 2-3 กิโลกรัม ขึ้นกับคุณภาพหญ้า นอกจากนี้ยังต้องมีแร่ธาตุ และน้ำให้กินอย่างเพียงพอตลอดเวลา
เมื่อโคเจริญเต็มที่ อายุประมาณ 15-18 เดือน ควรจะมีน้ำหนักประมาณ 250-280 กิโลกรัม (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์) ก็จะเริ่มทำการผสมพันธุ์ให้ตั้งท้อง การให้อาหารโคสาวในช่วงนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้โคมีความสมบูรณ์ ได้ขนาดตามที่กำหนด ถ้าโคแคระแกร็น อายุเกิน 18 เดือน แต่น้ำหนักยังน้อยไม่ถึงเกณฑ์เฉลี่ย จะทำให้มีปัญหาในเรื่องการผสมพันธุ์ อาจจะไม่แสดงอาการเป็นสัดให้เห็นชัดเจน หรือผสมติดยาก ดังนั้นควรให้โคได้รับอาหารหยาบ (หญ้า) ที่มีคุณภาพดีอย่างเพียงพอ และเสริมด้วยอาหารข้น อาหารข้นสำหรับโครุ่น-โคสาว โปรตีน 14-15 % ประมาณวันละ 2-3 กิโลกรัม ขึ้นกับคุณภาพหญ้า นอกจากนี้ยังต้องมีแร่ธาตุ และน้ำให้กินอย่างเพียงพอตลอดเวลา
4. การเลี้ยงแม่โครีดนม
การให้อาหารแม่โครีดนมนั้น โดยทั่วไปแม่โคเริ่มคลอดใหม่จะให้กินอาหารเต็มที่ ทั้งอาหารหยาบ(หญ้า) และอาหารข้นซึ่งเป็นอาหารสำหรับโครีดนมโดยเฉพาะ โปรตีน 16-18 % อาหารเหล่านี้จะเข้าไปซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกายให้มีสุขภาพสมบูรณ์ และให้ผลผลิตน้ำนมเต็มที่ จนกระทั่งให้ผลผลิตน้ำนมสูงสุด คือ ประมาณ 2 เดือนหลังคลอด จากนั้นปริมาณน้ำนมจะลดลงจะให้อาหารข้นลดลงด้วย โดยให้อาหารข้น 1 กิโลกรัม ต่อผลผลิตน้ำนม 2 กิโลกรัม ( อัตรานมต่ออาหาร 2 ต่อ 1 ) แต่ถ้าสามารถจัดการด้านแปลงหญ้าให้มีคุณภาพดีและปริมาณเพียงพอแล้ว และปริมาณน้ำนมของแม่โคที่รีดได้ต่อวันไม่เกิน 10 กิโลกรัม ก็จะสามารถลดปริมาณอาหารข้นให้น้อยลงกว่านี้ได้ แม่โครีดนมหลังคลอดลูกประมาณ 45-60 วัน ก็จะเริ่มทำการผสมพันธุ์ครั้งต่อไป
5. การเลี้ยงแม่โคแห้งนม (โคดราย)
ตามปกติก่อนคลอดประมาณ 2 เดือน ควรจะทำการหยุดรีดนม เพื่อให้โอกาสแม่โคได้สะสมอาหารให้เพียงพอก่อนการคลอดลูก หากแม่โคมีความสมบูรณ์ก่อนคลอดจะทำให้ได้ลูกที่แข็งแรง และให้ผลผลิตน้ำนมได้ดี ฉะนั้นก่อนที่จะหยุดรีดนม ให้สังเกตความสมบูรณ์ของแม่โคว่าสมบูรณ์ดีหรือไม่ ถ้าไม่สมบูรณ์หรือผอมเกินไป ก็ให้เพิ่มอาหารข้น แต่อย่างไรก็ตามการเพิ่มอาหารข้นในช่วงรีดนม แม่โคจะใช้อาหารได้ดีกว่า ดังนั้นจึงควรเลี้ยงแม่โคให้สมบูรณ์และเมื่อหยุดรีดนมจะให้อาหารข้นเสริมเพียงเล็กน้อย โดยให้อาหารหยาบเป็นหลักเพื่อรักษาน้ำหนัก หรือความสมบูรณ์ของแม่โคให้คงที่ เมื่อแม่โคคลอดลูกแล้วจัดการเลี้ยงดูตามวิธีการเลี้ยงดูแม่โคต่อไป
สายพันธุ์โคนม
พันธุ์โคนม
ในประเทศไทยได้มีการนำเข้าพันธุ์โคนมทั้งที่อาศัยอยู่ในเขตหนาว และพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในเขตร้อนหรือแถบเอเชีย เพื่อนำมาปรับปรุง พัฒนาสายพันธุ์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
โคนมพันธุ์โฮนสไตน์ฟรีเชี่ยน (Holstein Friesian Cow) จัดเป็นโคพันธุ์หนัก โคเพศเมียโตเต็มที่มีน้ำหนัก 680 กก.โคเพศผู้โตเต็มที่มีน้ำหนัก 997–1,087 กก. ให้ผลผลิตน้ำนม 7,542 กก./ปี/ตัว ไขมันในน้ำนมเฉลี่ย 3.64% (ตารางที่ 2-1) เป็นโคที่ทนต่ออากาศร้อน และความเครียดได้ดี โคจะมีสีดำขาว เป็นลักษณะเด่นมักเรียกโคพันธุ์นี้ว่า ขาว-ดำ มีนิสัยเชื่องไม่ตื่นตกใจง่าย กระตือรือร้นสนใจอยู่ตลอดเวลา
โคนมพันธุ์ซาฮีวาล (Sahiwal Cow) โคนมพันธุ์ซาฮีวาล มีแหล่งกำเนิดทางประเทศอินเดีย จัดเป็นพันธุ์ขนาดกลาง มีน้ำหนักตัวของโคเพศเมีย 400-450 กก. และโคเพศผู้ 500-600 กก. สีลำตัวเป็นสีน้ำตาลอ่อนถึงเข้มตลอดลำตัว เป็นโคที่ปรับตัวได้ดีในสภาพอากาศร้อน ทนทานต่อโรคได้ดีโดยเฉพาะโรคไข้เห็บ มีอัตราการให้น้ำนมต่อตัว 2,300-2,800 กก. ต่อช่วงการให้น้ำนม
ในประเทศไทยได้มีการนำเข้าพันธุ์โคนมทั้งที่อาศัยอยู่ในเขตหนาว และพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในเขตร้อนหรือแถบเอเชีย เพื่อนำมาปรับปรุง พัฒนาสายพันธุ์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
พันธุ์โคนมเขตหนาว
โคนมพันธุ์โฮนสไตน์ฟรีเชี่ยน (Holstein Friesian Cow) จัดเป็นโคพันธุ์หนัก โคเพศเมียโตเต็มที่มีน้ำหนัก 680 กก.โคเพศผู้โตเต็มที่มีน้ำหนัก 997–1,087 กก. ให้ผลผลิตน้ำนม 7,542 กก./ปี/ตัว ไขมันในน้ำนมเฉลี่ย 3.64% (ตารางที่ 2-1) เป็นโคที่ทนต่ออากาศร้อน และความเครียดได้ดี โคจะมีสีดำขาว เป็นลักษณะเด่นมักเรียกโคพันธุ์นี้ว่า ขาว-ดำ มีนิสัยเชื่องไม่ตื่นตกใจง่าย กระตือรือร้นสนใจอยู่ตลอดเวลา
โคนมพันธุ์แฮร์ชาย (Ayrshire Cow) โคนมพันธุ์แฮร์ชาย มีลักษณะสีน้ำตาลแดงสลับขาว มีน้ำหนักตัวเมื่อโตเต็มที่ ในโคเพศเมีย หนัก 544- 680 กก. ส่วนโคเพศผู้มีน้ำหนัก 838 กก. การให้นม 5,848 กก./ปี/ตัว ไขมันน้ำนม 3.95 %
โคนมพันธุ์เจอร์ซี่ (Jersey Cow) โคนมพันธุ์เจอร์ซี่ จัดเป็นโคนมพันธ์ที่เล็กที่สุด โคเพศเมียมีน้ำหนัก 365-544 กก. ตัวผู้มีน้ำหนัก544-815 กก. มีนิสัยปราดเปรียว ว่องไว ไม่ดุร้าย การให้น้ำนมของเจอร์ซี่ 5,104 กก./ปี/ตัว และมีเปอร์เซ็นต์ไขมันเฉลี่ย 4.97% เป็นโคที่มีการให้ไขมันนมสูงสุด
โคนมพันธุ์บราวสวิต (Brown Swiss Cow) เป็นโคนมพันธุ์ใหญ่มีขนาดใหญ่ โคเพศเมียโตเต็มที่ มีน้ำหนัก 589-815 กก. ส่วนโคเพศผู้มีน้ำหนัก 815-1,178 กก. มีสีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาลเข้ม การให้น้ำนมเฉลี่ย 6,155 กก./ปี/ตัว มีเปอร์เซ็นต์ไขมัน 4.08%
พันธุ์โคนมเขตร้อน
โคนมพันธุ์ซาฮีวาล (Sahiwal Cow) โคนมพันธุ์ซาฮีวาล มีแหล่งกำเนิดทางประเทศอินเดีย จัดเป็นพันธุ์ขนาดกลาง มีน้ำหนักตัวของโคเพศเมีย 400-450 กก. และโคเพศผู้ 500-600 กก. สีลำตัวเป็นสีน้ำตาลอ่อนถึงเข้มตลอดลำตัว เป็นโคที่ปรับตัวได้ดีในสภาพอากาศร้อน ทนทานต่อโรคได้ดีโดยเฉพาะโรคไข้เห็บ มีอัตราการให้น้ำนมต่อตัว 2,300-2,800 กก. ต่อช่วงการให้น้ำนม
โคนมพันธุ์เรดซินดี้ (Red Sindhi Cow) มีแหล่งกำเนิดทางประเทศอินเดีย จัดเป็นโคพันธุ์ขนาดกลาง น้ำหนักตัวของโคเพศเมีย 350-450 กก. และโคเพศผู้ 450-500 กก. สีลำตัวเป็นสีน้ำตาลเข้มถึงสีแดงตลอดลำตัว เป็นโคทนต่อสภาพอากาศร้อน ทนทานต่อโรคได้ดี ต้องมีลูกโคมาเพื่อกระตุ้นแม่โคจึงยอมปล่อยน้ำนม และหัวนมรวมกระจุกอยู่ตรงกลางไม่เหมาะกับการรีดนมแบบใช้เครื่องรีด อัตราการให้น้ำนมต่อตัว 2,000-2,500 กก. ต่อช่วงการให้น้ำนม
พันธุ์โคนมลูกผสม
พันธุ์โคนมลูกผสม คือ โคนมพันธุ์แท้มาผสมข้ามสายพันธุ์กับโคพื้นเมืองทำให้ได้ลูกผสมที่มีลักษณะพันธุ์ที่ดีตัวอย่างเช่น โคนมพันธุ์ไทยฟรีเชียน (Thai Friesian Cow)เป็นโคนมพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชียนที่มีเลือดของโคนมพันธุ์แท้สูงกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ผสมกับโคพื้นเมืองและมีการเพิ่มสายเลือดมาจนมากกว่า 75%
การเลี้ยงโคนม
การเลี้ยงโคนมในประเทศไทย
ระเบียบมาตราฐานฟาร์มโคนมและการผลิตน้ำนมดิบของประเทศไทย พ.ศ. 2542 ประกาศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง มาตราฐานฟาร์มโคนมและการผลิตน้ำนมดิบ ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 ได้กำหนดมาตราฐาน เพื่อประโยชน์ต่อการปรับปรุงคุณภาพ อำนวยความสะดวกด้านการค้าและการปรับปรุงคุณภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้เจ้าของฟาร์มโคนมและสัตวแพทย์ที่ควบคุมกำกับดูแลสุขภาพสัตว์ และดูแลสุขอนามัยภายในฟาร์มโคนม ได้ปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน เพื่อให้ได้ฟาร์มโคนมและน้ำนมได้มาตราฐาน ซึ่งจะมีผลต่อราคาน้ำนมดิบและผู้บริโภค ตามวัตถุประสงค์ของประกาศกระทรวง
“แม่โค” หมายถึง โคที่เคยคลอดลูกแล้ว
“ฟาร์มขนาดเล็ก” หมายถึง ฟาร์มที่มีจำนวนแม่โคไม่เกิน 20 ตัว
“ฟาร์มขนาดกลาง” หมายถึง ฟาร์มที่มีจำนวนแม่โคอยู่ระหว่าง 21 – 100 ตัว
“ฟาร์มขนาดใหญ่” หมายถึง ฟาร์มที่มีจำนวนแม่โคเกินกว่า 100 ตัว
“แม่โค” หมายถึง โคที่เคยคลอดลูกแล้ว
“ฟาร์มขนาดเล็ก” หมายถึง ฟาร์มที่มีจำนวนแม่โคไม่เกิน 20 ตัว
“ฟาร์มขนาดกลาง” หมายถึง ฟาร์มที่มีจำนวนแม่โคอยู่ระหว่าง 21 – 100 ตัว
“ฟาร์มขนาดใหญ่” หมายถึง ฟาร์มที่มีจำนวนแม่โคเกินกว่า 100 ตัว
ระบบการเลี้ยงโคนมในประเทศไทย
1. การปล่อยให้กินหญ้าในแปลง (Grazing) สำหรับพื้นที่จำกัดจะใช้รั้วไฟฟ้า หรือรั้วลวดหนาม แบ่งแปลงหญ้าเป็นล็อคๆ ให้โคกิน และทุ่งหญ้าส่วนใหญ่จะเป็นแบบทุ่งหญ้าถาวร (Pasture crops)
1. การปล่อยให้กินหญ้าในแปลง (Grazing) สำหรับพื้นที่จำกัดจะใช้รั้วไฟฟ้า หรือรั้วลวดหนาม แบ่งแปลงหญ้าเป็นล็อคๆ ให้โคกิน และทุ่งหญ้าส่วนใหญ่จะเป็นแบบทุ่งหญ้าถาวร (Pasture crops)
2. แบบปล่อยยืนโรง (Loose housing) ปล่อยโคเป็นอิสระ มีการนำอาหารมาให้ เช่น หญ้าหมัก, หญ้าสด โดยโคสามารถพักผ่อน นอน กินอาหาร และรีดนม อยู่ในโรงเรือนเดียวกัน
3. แบบผสม รูปแบบนี้จะขึ้นอยู่กับกิจกรรมการผลิตอาหารสัตว์ในแต่ละปีทั้งแปลงหญ้าให้โคลงแทะเล็ม และตัดสดให้โคกิน (cut and curry)
การเลี้ยงโคนมให้เจริญก้าวหน้าไปกว่าปัจจุบันจะต้องขจัดปัญหาต่างๆ ที่พบในการเลี้ยงโคนมโดยแบ่งได้ดังนี้ การลงทุนเริ่มต้น อาจสูง เช่น ค่าตัวโค ค่าสร้างโรงเรือน ค่าอุปกรณ์ที่จำเป็นความรู้ด้านการเลี้ยงโคนม เพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการผลิต การเลี้ยงสัตว์ที่จะได้ผลผลิตนมออกมา นอกจากนี้ยังต้องอาศัยประสบการณ์ในการเลี้ยงจึงจะประสบความสำเร็จ งานที่ไม่มีวันหยุด ไม่สามารถหยุดทำงานเนื่องจากมีการผลิตน้ำนมทุกวันประสิทธิภาพการผลิตต่ำ เป็นผลมาจากเรื่องการคัดเลือกพันธุ์โคนม สุขภาพโค การเลี้ยงดูแลและการให้อาหาร ชึ่งจะส่งผลให้ผลผลิตนมต่ำ ต้นทุนการผลิตสูง โดยเฉพาะค่าอาหารมีราคาสูงขึ้น ได้ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตน้ำนมสูงขึ้น
ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 แสดงต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบเฉลี่ยทุกขนาดฟาร์ม ราคาที่ขายได้และผลตอบแทน(บาท / กก.)
หมายเหตุ : ราคาน้ำนมดิบรับซื้อที่ศูนย์รับซื้อน้ำนม (กลุ่มงานเศรษฐกิจปศุสัตว์ 2539)
(ก) ราคารับซื้อในช่วงต้นปี (ข) ราคารับซื้อในช่วงปลายปี
(ก) ราคารับซื้อในช่วงต้นปี (ข) ราคารับซื้อในช่วงปลายปี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)